ศึกษาเชิงวิพากษ์การนำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ด้านผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

Main Article Content

กิตติศักดิ์ อุตส่าห์การ

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติของนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ด้านผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน    ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเนื่องจากเป็นการบริหารจัดการที่ดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


          โดยการศึกษาจะทำการสำรวจเอกสาร รวมถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบทสัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน นำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์และตีความหมาย โดยใช้ตัวแบบการกำหนดนโยบายไปสู่การปฏิบัติของนโยบายระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกด้านผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินมาปฏิบัติ


          จากการศึกษาพบว่าปัญหาการติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางของไทยมาเป็นระยะเวลานานได้กลายเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการกำหนดนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากความต้องการของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งหวังให้นโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จโดยเร็ว จึงใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกประกาศฉบับต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการขัดแย้งและการดำเนินการที่ล่าช้าของกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เรียกว่าเป็นมือล่องหน ส่งผลให้ขาดปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ คือ การขาดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติซึ่งจะต้องนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ การขาดการสื่อสารจึงทำให้ขาดความเข้าใจนโยบาย ก่อให้เกิดความสับสนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ นอกจากนี้ยังทำให้ประชาชนในพื้นที่ที่ขาดเวทีในการแสดงความคิดเห็นจึงเกิดความไม่พอใจของประชาชน ซึ่งเห็นได้จากการรวมตัวกันของศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่คัดค้านนโยบายดังกล่าว ทำให้ขาดการสนับสนุนจากภาคประชาชน ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงสำคัญยิ่งต่อประสิทธิผลของนโยบาย แม้ว่าในระยะเวลาอันสั้นนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกจะสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยแรงผลักดันของรัฐบาล แต่ในระยะยาวแล้วการขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะทำให้นโยบายล้มเหลว ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจต่อนโยบายดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น และสร้างแรงสนับสนุนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2560). กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/pages/category/Cause/EEC-Watch-กลุ่มศึกษาการ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก-523494264670040/. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 ธันวาคม 2560).
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก. (2560, 11 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 19 ง. หน้า 30- 36
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนา ระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2560, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 142 ง. หน้า 18-19
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 47/2560 เรื่อง ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินใน พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2560, 25 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 261 ง. หน้า 18-20
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ วิธีการ ระเบียบ ปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมสําหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจกอใหเกิดผลกระทบตอชุมชนอยางรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดลอม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ. (2552,29 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอน พิเศษ 188 ง. หน้า 2-4
พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558. (2558, 25 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก. หน้า 76
พลวุฒิ สงสกุล. พ.ร.บ. อีอีซี ผ่านมติเอกฉันท์ สนช. – กังวลให้สิทธิต่างชาติมากไป รัฐบาลยันฟัง ความเห็นครบแล้ว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thestandard.co/eec-laws- resolve/. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 ธันวาคม 2560).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). เป้าหมายการพัฒนา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.eeco.or.th/ภาพรวมการพัฒนา/เป้าหมายการ พัฒนา. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 ธันวาคม 2561).
Alexander E R. (1985). Administration & Society Vol.16 No.4. California: Sage Publications Inc. pp. 403-426
Alexander E R and Faludi A. (1988). Environment and Planning B: Planning and Design Vol.16. Great Britain: a Pion publication. pp. 127-140
Anderson, James E. (1994). Public Policy–Making: Introduction. (2nd ed). New York: Houghton Mifflin Company.
Cohen John M. & Uphof, Norman T. (1980), Participation’s Place in Rural Development, Seeking Clarity Through Specificity, World Development, Vol 213.
Dye, Thomas R. (1984). Understanding Public Policy. (5th ed). Englewood Cliffs. New Jersey:Prentice -Hall, Inc
Easton, David. (1953). The Political System An Inquiry in to the State of Political
Science. New York : Alfred A. Knorf.
Ervin Williams. (1976). Participative Management: Concepts, Theory, and Implementation. Atlanta Ga: Georgia State University
Pressman & Wildavsky. (1979). Implementation (3rd ed). California: University of California. pp. 163-168
George Honadle & Rudi Klauss. (1979). International Development Administration: Implementation Analysis for Development Projects. New York: Praeger Publishers. pp. 3-20
Sharkansky, Ira. 1970. Policy Analysis in Political Science. Chicago : Markham.
Van Meter, & Van Horn. (1975). Administration and society. Vol. 6 No.4. California: SAGE Publications. pp. 445 – 488