การใช้เวลาในการเล่าเรื่องในลิลิตพายัพพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

วศวรรษ สบายวัน

บทคัดย่อ

จากการศึกษาการใช้เวลาในการเล่าเรื่องในลิลิตพายัพ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการศึกษาพบว่า การใช้เวลาที่ปรากฏในลิลิตพายัพเป็นการกำหนดเวลาแบบบันทึกรายวันโดยสัมพันธ์กับพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีหมายกำหนดการไว้ ซึ่งการใช้เวลาแบบบันทึกรายวันดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้ 2 ประการคือ 1. วิธีการเล่าและการใช้เวลาในลิลิตพายัพ ผู้วิจัยพบเวลาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเล่าเรื่อง ทั้งในการขยายรายละเอียดของเรื่องเล่าหรือเล่าข้ามรายละเอียดของเรื่องเล่านั้นไป 2. คุณค่าของเวลากับภาระหน้าที่ของมนุษย์ในลิลิตพายัพ ในประเด็นนี้ ผู้วิจัยพบว่าการใช้เวลาในลิลิตพายัพแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับโลกทัศน์ทางเวลาในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ผู้คนเริ่มยอมรับความคิดทางเวลาแบบตะวันตกมากขึ้น และพบว่าความเปลี่ยนแปลงทางความคิดนี้ผสมผสานอยู่กับการแต่งลิลิตพายัพซึ่งเป็นวรรณกรรมนิราศเรื่องหนึ่งของไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2543. ปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. 2516. ลิลิตพายัพ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ). 2552. 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทยลำดับที่ 19. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
วิไลเลขา ถาวรธนสาร. 2545. ชนชั้นนำไทยกับการรับวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. 2541. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2475. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิราวดี ไตลังคะ. 2543. ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.