ปัจจัยการบริหารและความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศิริวรรณ วิสุทธิรัตนกุล
Kanyanat SEANGYAI
พัชรินทร์ เอี่ยมสอาด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยประชากรที่ทำการศึกษา คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 389 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ 


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารของมหาวิทยาลัยของในกำกับของรัฐโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามรายด้าน พบว่า ระดับปัจจัยการบริหารของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอยู่ในช่วงระดับปานกลางถึงระดับมากที่สุด  โดยปัจจัยการบริหารด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยการบริหารด้านค่าตอบแทนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งระดับอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐโดยรวมอยู่ในระดับมาก   เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน  พบว่า ความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งนี้ด้านบรรทัดฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านจิตใจมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และ 3) ปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้แก่ ด้านเสรีภาพทางวิชาการ  นโยบายมหาวิทยาลัย และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฎกระทรวงที่ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547. (2524). ราชกิจานุเบกษา, 121(69ก), 1-13.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). ภาวะสมองไหลวิกฤตการณ์ระดับโลก. สืบค้นจาก http://www.kriengsak.com/node/1411. ค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการบริหารทรัพยากรมนุษย์. สืบค้น จาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/ p.r.g.edu1.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559.
รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์. (2554). การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์การ (employee engagement). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บ้านหนังสือโกสินทร์.
ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 37(142), 16-32.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2542). ความเป็นของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ: อดีตถึงปัจจุบัน. สืบค้นจาก https://inin2539.wordpress.com/มหาวิทยาลัย/ความเป็นของมหาวิทยาลัย/. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2559.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). สืบค้นจาก www.mua.go.th/users/ bpp/.../higher.../PlanHEdu10 _2551-2554.pdf
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2555). คู่มือระบบค่าตอบแทนสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงาน ก.พ.
อุทุมพร จามรมาน. (2542). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การเตรียมพร้อมของมหาวิทยาลัยของรัฐเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Alhawary, F. A., & Aborumman, A. H. (2011). Measuring the effect of academic satisfaction on multi-dimensional commitment: A case study of applied science private university in Jordan. International Business Research, 4(2), 153-160.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology. 63(1),1-18.
Becker, H. S. (1960). Notes on the concept of commitment. American Journal of Sociology, 66(1), 32-42.
Calland, David R .(2012). Organizational Commitment among employees at a private nonprofit university in Virginia. (Doctoral Dissertation, Capella University.) disengagement at work’. Academy of Management Journal, 33, 692-724.
Gubman, E. L. (1998). The talent solution: Aligning strategy and people to achieve extraordinary results. New York: McGraw-Hill.
Gubman, E.L. (1998). The Talent Solution: Aligning Strategy and People to Achieve Extraordinary Results. The United States of America: McGraw-Hill.
Kahn, W. A. (1990). Psychological conditions of personal engagement and disengagement at work’. Academy of Management Journal, 33, 692-724.
Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
LaMastro, D. (2002). Commitment and perceived organization support. Journal of Occupational Psychology, 84(7), 42-44.
Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1984). Testing the side-best theory of organizational commitment: Some methodological considerations. Journal of Applied Psychology, 69(3), 372-378.
Porter, L. W., Steers, R. M., Mowday, R. T., & Boulian, P. V. (1974). Organizational commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.
Ramdeja.(2001). Organizational Commitment of Thai University Instructors :Astudy of Public and Private University in Bangkok Metropolis. (Doctoral Dissertation, National Institute of Development Administration).
Robinson, D., Perryman, S., & Hayday, S. (2004). Institute for employment studies. Available from http://www.employmentstudies.co.uk/pubs/summary.php?==408. Retrieved May 16, 2019,
Steers, R. M., & Porter, L. W. (1983). Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill.
Strellioff, W. K. (2010). Engagement employee. Available from http://bcauditor.com/ May 28, 2019,
Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper & row.