แนวทางการพัฒนาชุมชนภายใต้การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ของสานักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เกษม การะมัด
ณัฏฐา เกิดทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1).การพัฒนาชุมชนของ
เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตาม
หลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร กับการ
พัฒนาชุมชน 3).แนวทางการพัฒนาชุมชนภายใต้การบริหารตามหลัก
ธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ประชากร
ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของเขตคลองสามวา จำนวน 400 คน
จากการคำ นวณโดยใช้สูตรของการกำ หนดขนาดตัวอย่างของ Taro
Yamane ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสามวา ผู้ช่วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสามวา หัวหน้าฝุายพัฒนาชุมชนและ
สวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่ฝุายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม การ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสรุปและตีความ
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง มีอายุ 41-60 ปี มีอาชีพรับจ้าง การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่
6 โดยภาพรวมพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน โดยรวมอยู่
ในระดับมาก ( ̅ = 3.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก
ได้แก่ การพัฒนาด้านการเมือง.( ̅= 3.86).การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
( ̅= 3.56) และการพัฒนาด้านสังคม( ̅= 3.42) ตามลำดับ.2).ความคิดเห็น
เกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅=
3.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ หลักความ
โปร่งใส ( ̅ = 3.79) หลักนิติธรรม ( ̅= 3.78) หลักความคุ้มค่า ( ̅ = 3.69)
หลักการมีส่วนร่วม ( ̅= 3.67) และหลักความรับผิดชอบ ( ̅= 3.57)
3).การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ประชาชนที่มีเพศอายุ ระดับ
การศึกษาและอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชน ที่ไม่แตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า
1) การพัฒนาด้านการเมืองมีการจัดประชุมผู้นำชุมชนให้เข้ามารับรู้ข่าวสาร
จากทางหน่วยงานต่างๆ.การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีการจัดกิจกรรม
บำเพ็ญประโยชน์จิตสาธารณะ ทำความสะอาดร่วมกันในชุมชน และการ
พัฒนาด้านสังคมมีการจัดตั้งศูนย์เยาวชนให้ความรู้ประชาชน 2) การบริหาร
ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน พบว่า การบริหารตาม
หลักความโปร่งใสทำให้มีการจัดสรรงบประมาณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบได้ การบริหารตามหลักนิติธรรมทำให้ชุมชนสงบสุขและน่าอยู่มาก
ขึ้น การบริหารตามหลักความคุ้มค่าทำให้เกิดการระดมทรัพยากรต่าง ๆใน
ชุมชนมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การบริหารตามหลักการ
มีส่วนร่วมทำให้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงาน และการบริหารตามหลักความรับผิดชอบทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เสร็จทันเวลาสามารถที่จะตอบสนองความ
ต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนภายใต้
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตคลองสามวานั้นควร
คำนึงถึงประชาชนโดยผลประโยชน์ส่วนรวม และควรมีการจัดตั้งศูนย์ฝึก
อาชีพเพื่อสร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชน รวมทั้งส่งเสริม
เศรษฐกิจชุมชนและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
ซึ่งหลักของธรรมาภิบาลนั้น มุ้งเน้นให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล โปร่งใสตรวจสอบได้ คุ้มค่า มีกฎระเบียบในการดำเนินงาน แล้ว
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการของประชาชนสูงที่สุด และเป็นการเน้น
ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบ้านเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารจัดการที่ดี
ต า ม ห ลัก ธ ร ร ม า ภิบ า ล (Good.governance).ก รุง เ ท พ ฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตติ มงคลชัยอรัญญา. การศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนา. (เอกสาร
ประกอบการเรียนภาควิชาการพัฒนาชุมชน). กรุงเทพมหานคร :
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.
ประพัฒน์ โพธิวรคุณ. (2544). หลักบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหาร
การศึกษา
ถวิลวดี บุรีกุล. (2547). การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. ในการสัมมนา
โครงการยกระดับการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐและ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น People’s audit .กรุงเทพฯ:
สำนักงานพัฒนาระบบราชการ.
มยุรี วัดแก้ว. (2535). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. เพชรบุรี : คณะ
วิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
วิทยากร เชียงกูล. (2527). การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย: บทวิเคราะห.
กรุงเทพฯ: ฉับแกระ.
สนธยา พลศรี. (2547).ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน.(พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
สำนักงานเขตคลองสามวา.(2562).แผนปฏิบัติราชการประจาปี 2562.
[ระบบออนไลน์].เข้าถึงได้
จาก :http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000047/n
ews/activitypic/jun62/plan62.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล 14
มกราคม 2562).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่11) พ.ศ. 2554-
2559.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552).คู่มือการจัดระดับ
การกากับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good governance rating).
กรุงเทพฯ: พรีเมียร์โปร
สุเทพ เชาวลิต. (2524). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.
อภิชัย พันธเสน. (2539). พัฒนาชนบทไทย สมุทัยและมรรค: แนวคิด
ทฤษฎีและภาพรวมของ การพัฒนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปญญา.
อานันท์ ปันยารชุน. (2541). ธรรมรัฐกับอนาคตของประเทศไทย. ใน
ปาฐกถา ธรรมรัฐกับอนาคตของประเทศไทย.กรุงเทพฯ:คณะ
รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th
ed.). New York : Harper Collins Publishers.( pp.202-204)