การคุ้มครองสิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐที่ล้มละลาย

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภิญญาพัชญ์ ติบวงษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐที่ล้มละลาย ให้เกิดความเป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่รัฐมากยิ่งขึ้น โดยการเขียนบทความครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสารโดยคำตอบที่ได้นำไปพัฒนาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป


          ข้อค้นพบของบทความนี้คือ คำตอบของการคุ้มครองสิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐที่ล้มละลาย ด้วยเหตุผลตามหลักความยุติธรรม ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐล้มละลายเกี่ยวกับปัญหาการถูกฟ้องล้มละลายระหว่างดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัญหาสถานะของบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกศาลพิพากษาว่าล้มละลาย ปัญหาการพ้นจากตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐว่ามีผลบังคับเมื่อใด ปัญหาการรับบำเหน็จหรือบำนาญเมื่อพ้นจากการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐและปัญหาการนับอายุราชการของเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีล้มละลาย


          ข้อเสนอแนะการวิจัย โดยการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 หรือวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละองค์กรนั้นๆ โดยพิจารณาได้ดังนี้


         ประเด็นแรก ควรบัญญัติกฎหมายว่า “หากการล้มละลายของเจ้าหน้าที่รัฐเกิดขึ้นด้วยเหตุจำเป็นเกี่ยวกับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามฐานานุรูป หรือเหตุผลใด ๆ ก็ตามที่เป็นเหตุอันมิได้เกิดขึ้นเพราะตนเองไม่ระมัดระวังในการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยการดำรงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นย่อมสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ถือว่ามิใช่บุคคลที่ล้มละลายที่ต้องออกจากราชการแต่อย่างใด”


         ประเด็นที่สอง ควรบัญญัติกฎหมายว่า “เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐหรือข้าราชการในหน่วยงานนั้นล้มละลายให้มีผลในการนับเวลาที่จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญนับแต่วันที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ออกจากราชการหรืองานนั้น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภิญญาพัชญ์ ติบวงษา , คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

References

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2547). กฎหมายกับความยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรม ศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปรีชา พานิชวงศ์. (2543). คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย. กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ.
มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย. (2547). กฎหมายที่มีบทบัญญัติไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ. รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อการพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
วิชัย วิวิตเสวี. (2546). กฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ : หลักกฎหมาย จากคำพิพากษาฎีกา. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร: อธิศปวีณ.
ปวริศร เลิศธรรมเทวี และป่าน จินดาพล. (2560). “หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับ ระบบกฎหมายล้มละลาย” 73(1) บทบัณฑิตย์.

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539


กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
The Insolvency Act of 1986 (United Kingdom).
the Companies (Winding Up) Act of 1890 (UnitedKingdom).

เว็ปไชต์
https://www.gov.uk/statutory-demands/overview.สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564
https://www.krisdika.go.th/data/activity/act78.htm#_ftn17 อ้างถึง นายยงยุทธ ภู่ประดับกฤต นิติกรระดับ 4 ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา,สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564

คำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 3210/2532
คำพิพากษาฎีกาที่ 175/2529
คำพิพากษาฎีกาที่2230/2544
คำพิพากษาฎีกาที่ 341/2531
คำพิพากษาฎีกาที่ 71/2522
คำพิพากษาฎีกาที่ 2142/2517
คำพิพากษาฎีกาที่ 3721/2535
คำพิพากษาฎีกาที่ 1745/2532)
คำสั่งคำร้องที่ 14/2506
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2498
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897 - 1898/2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527 (ประชุมใหญ่)

คำวินิจฉัยขององค์กรอื่นๆ
คำวินิจฉัยของ ก.พ.ค เรื่องดำที่ 5910161 เรื่องแดงที่ 0038161
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ในเรื่องเสร็จที่ 116/2548