การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าวบนหลักการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม

Main Article Content

ศุภินธน์การย์ ระวังวงศา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร แบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าว โดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคีการพัฒนาและชุมชนเป้าหมาย ใช้เทคนิควิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามครัวเรือนและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดเวทีประชาคมและการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับชุมชนและภาพรวม แล้วนำข้อมูลทั้ง 2 ส่วนมาพัฒนาเป็นแผนยุทธศาสตร์ชุมชนริมคลองลาดพร้าว เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าว มียุทธศาสตร์สำคัญ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ศูนย์บูรณาการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าวสู่ความยั่งยืน 2) สนับสนุนการจัดการที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวก/ความปลอดภัยในชุมชน 3) การสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์และกลุ่มออมทรัพย์ ให้มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของสมาชิก 4) การส่งเสริมการดูแลสุขภาพและการดูแลกลุ่มเปราะบาง 5) การส่งเสริมการให้ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชน และ 6) การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน และภูมิทัศน์ให้สวยงาม จากแผนยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าวนี้ หน่วยงานภาคีการพัฒนาที่มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าวสามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ในการดำเนินการอย่างเป็นระบบไม่ซ้ำซ้อน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมถึงนโยบายของรัฐบาล โดยมีกลไกและระบบการประสานการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  นำไปสู่การเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนรุกล้ำที่สาธารณะริมคลองอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

ศุภินธน์การย์ ระวังวงศา , คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). คู่มือแนวทาง การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ:
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
มนทกานติ ปรากฏวงษ์. (2558). ปัญหาและแนวทางการจัดทำแผนชุมชนของเทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและพัฒนาประชาคมเมือง
และชนบท) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วิวัฒน์ หามนตรี. (2556). การจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลชัยฤทธิ์
อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชมงคล. 7(1) : 39-45
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2528). โครงการบ้านมั่นคง. กรุงเทพฯ: สำนักงานบ้าน
มั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม. (2562). หลักการทำงาน ENT. สืบคืนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม
2562, เข้าถึงได้จาก http://engagementthailand.org/?p=5074
สำนักพัฒนาองค์ความรู้และประเมินผล. (2559). บทเรียน การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนระดับตำบล/จังหวัด
และการบูรณาการแผนพัฒนาชุมชนกับหน่วยงาน/ภาคี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาองค์
ความรู้และประเมินผล สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
สำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน. (2559). คู่มือการจัดทำแผนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:
สำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สถาบันพัฒนาองค์กร
ชุมชน (องค์การมหาชน).
เสรี พงศ์พิศ และคณะ. (2544). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญาไทย.
อินทิรา เจียระสุพัฒน์. (2552). กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองภายใต้แนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดปทุมธานี. รายงาน
การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการ
ปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Bryson, John M. (2004). Strategic Planning for Public and Nonprofit Organizations.
San Francisco: John Wiley & sons, Inc.
David, Fred R. (2005). Strategic Management Concepts and Cases. New Jersey: Pearson
Education,Inc.
Rabin, Jack, Miller, Gerald J., and Hildreth, W. Bartley. (2000). Handbook of Strategic
Management. 2nd ed. New York: Marcel Dekker, Inc.