การประยุกต์ใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

มัทรี สีมา
ธีรพิพัฒน์ ธนาบุญญาเสฎฐ์
เมษา คำแก้ว
อภิชญา เดชพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดบริการ (Service Marketing Mix: 7Ps) และเพื่อประยุกต์ใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจและหลากหลาย (= 3.90) สินค้าและบริการมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ (= 3.99) มีการจัดจำหน่ายสินค้าภายในแหล่งท่องเที่ยว ( = 4.22) อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการขายผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Facebook Twitter Youtube Line เป็นต้น ( = 4.31) มีบุคลากรเพียงพอต่อการให้บริการภายในแหล่งท่องเที่ยว ( = 3.95) รวมถึงมีการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวในแต่ละจุดในแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ( = 4.16) และแหล่งท่องเที่ยวมีเว็บไซต์หรือFacebook page ที่ให้บริการจองได้สะดวกและทันสมัย ( = 4.21) อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการเที่ยวเชิงเกษตรโดยประยุกต์ใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดบริการ จำเป็นต้องมีสินค้าแปรรูปทางการเกษตรที่มีความหลากหลาย มีการกำหนดราคาให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับและเกิดความคุ้มค่า เพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายและห้างสรรพสินค้า อีกทั้งยังต้องดำเนินการส่งเสริมการขายผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ใช้สื่อออนไลน์สามารถเข้าถึงข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวได้ รวมถึงจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะการสื่อสารข้อมูลที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเวลาในการนำชมแหล่งท่องเที่ยวที่ชัดเจน และจำเป็นต้องประยุกต์ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biographies

มัทรี สีมา, หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

อาจารย์หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ธีรพิพัฒน์ ธนาบุญญาเสฎฐ์, หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นักศึกษา หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

เมษา คำแก้ว, หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นักศึกษา หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

อภิชญา เดชพันธ์, หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นักศึกษา หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทสไทย. (2560) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 จาก https://www.mots.go.th/
กรมประมง. (2556) ความหมายของการประมง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 จาก http://www.mkh.in.th/
เกศณีย์ สัตตรัตนขจร. (2560) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2563 จาก http://www.tnrr.in.th//
กรมการท่องเที่ยว. (2552) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 จาก https://www.mots.go.th/
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558) การจัดการบริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 จาก https://www.tat.or.th/
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลเขาบายศรี. (2563) สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/
กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ. (2556) การจัดการการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำหรับความรู้ไทย.
ขนิษฐา แจ้งประจักษ์ (2556) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษา สามชุก ตลาดร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี.
จรินทร์ อาสาทรงธรรม. (2555) การจัดการท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้ำอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จีรนันท์ เขิมขันธ์. (2561) มุมมองของการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วารสารเกษตร พระจอมเกล้า 2561.
เจษฎา นกน้อย. (2559) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 จาก http://utcc2.utcc.ac.th/
ชลิตา ตั้งสุภาพ. (2555) ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพนักงานขายของโครงการบ้านจัดสรรในจังหวัด เชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
ชีวรรณ เจริญสุข. (2557). กลยุทธ์ทางการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจการตลาด.
ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2557) รูปแบบการบริหารการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 จาก วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.
ถนอม บรคุต. (2557) แนวคิดทฤษฎีทางการตลาด. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://fifathanom.wordpress.com/
เทพกร ณ สงขลา. (2559) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เทพกร ณ สงขลา. (2559) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2561.
ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย. (2552) ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://fifathanom.wordpress.com/
นิศา ชัชกุล. (2557) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พานิช ทินนิมิต. (2556) หลักการเลี้ยงสัตว์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 จาก http://clrem- opac.sut.ac.th/
รติวัลย์ วัฒนสิน. (2555) การส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, คณะวิทยาการจัดการ.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2555) การศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัด เชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัย พะเยา
ศิริพร พงศ์ศรีไพรจน์. (2556) องค์การและการจัดการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 จากhttp://dspace.bu.ac.th/