การศึกษาอุปลักษณ์ผ่านข้อความอิเล็กทรอนิกส์ในสื่อออนไลน์ของจีน ภายใต้ภาวะวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 (COVID-19)

Main Article Content

พิชัย แก้วบุตร
นพวรรณ เมืองแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาอุปลักษณ์ที่ปรากฏในการใช้ภาษาผ่านข้อความอิเล็กทรอนิกส์ในสื่อออนไลน์ของจีนภายใต้ภาวะวิกฤติโรคระบาดไวรัสโควิด - 19 (COVID-19) และนำข้อมูลอุปลักษณ์เหล่านั้นมาวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมจีนในช่วงโรคระบาด ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากข้อความอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนชาวจีนทั่วไปที่ได้แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อออนไลน์ของจีนตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 63 ข้อความ ระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2564 ผลการวิจัยพบว่า ปรากฏการใช้อุปลักษณ์ทั้งหมด 15 ประเภท ได้แก่
1) อุปลักษณ์ [การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ คือ การสู้รบ] 2) อุปลักษณ์ [บุคลากรทางการแพทย์ คือ ฮีโร่] 3) อุปลักษณ์ [ความปลอดภัย คือ ฤดูใบไม้ผลิ] 4) อุปลักษณ์ [โรคภัย คือ ลมฝน] 5) อุปลักษณ์ [การหายจากโรค คือ แสงสว่าง] 6) อุปลักษณ์ [โรคภัย คือ ความหนาวเหน็บ]
7) อุปลักษณ์ [โรคภัย คือ หมอกควัน] 8) อุปลักษณ์ [การรักษาโรคระบาด คือ สงคราม] 9) อุปลักษณ์ [บุคลากรทางการแพทย์ คือ นักรบ] 10) อุปลักษณ์ [บุคลากรทางการแพทย์ คือ นางฟ้า]
11) อุปลักษณ์ [การหายจากโรค คือ ชัยชนะ] 12) อุปลักษณ์ [ความสนุกสนาน คือ เครื่องเสียง]
13) อุปลักษณ์ [การใช้ชีวิตช่วงโควิด คือ พฤติกรรมของหมู] 14) อุปลักษณ์ [การใช้ชีวิตช่วงโควิด คือ การถูกกักขังในยามอยู่ไฟ] และ 15) อุปลักษณ์ [อุปสรรค คือ ธรรมชาติ] จากข้อมูลอุปลักษณ์ทำให้เห็นภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมของจีนในหลายมิติต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับฤดูกาล
2) การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ 3) ความหวังของคนในสังคมที่จะผ่านพ้นวิกฤติ
โรคระบาด 4) การดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงโรคระบาด และ 5) วิถีชีวิตสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมของจีน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biographies

พิชัย แก้วบุตร, วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นพวรรณ เมืองแก้ว, วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

References

กนกพร นุ่มทอง. (2563). ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนพล เอกพจน์, วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนาและ ปานปั้น ปลั่งเจริญศรี. (2563). [ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ ศัตรู]: การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคนไทยตามแนวภาษาศาสตร์
ปริชาน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 9(1), 1-37.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2553). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 24-25). กรุงเทพฯ: บริษัท ธเนศวร พริ้นติ้ง (1999) จำกัด.
บีบีซี นาวิเกชัน. (2563, 11 พฤษภาคม). โคโรนา: อนามัยโลกตั้งชื่อ "โควิด-19" ให้โรคทางเดินหายใจจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่. https://www.bbc.com/thai/features-51473472.
พิชัย แก้วบุตร. (2563). ความสนใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนวิชาภาษาจีน: กรณีศึกษานักศึกษาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(23), 27-38.
แพรวตา ศรีษะโคตร และ ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2561). กลวิธีและถ้อยคำการสัมภาษณ์ในรายการวิทยุคลับฟรายเดย์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนคร, 2(1), 106-124.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2564, 25 สิงหาคม). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และ
เมืองหลวง. http://www.bihmoph.net/userfiles/file/guide.pdf.
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2549). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2201725 ภาษากับวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารอัดสำเนา)
ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2564). สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนคร, 5(1), 37-56.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2564, 25 สิงหาคม). การเลี้ยงหมู. https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=18&chap=9&page=chap9.htm.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2543). เกณฑ์การถ่ายถอดเสียงภาษาจีนแมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Baike Baidu. (2021, 25 August). Endure Hardships and be Capable of Hard Working. https://baike.baidu.com/item/吃苦耐劳. (In Chinese)
CHANG, J. (2009). Chinese Vocabulary and Culture. Beijing: Beijing University Press.
(In Chinese)
Kövecses, Z. (2002). Metaphor: A Practical Introduction. Oxford: Oxford University Press.
Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphor we live by. London: University of Chicago Press.
LI, Y. (2018). Language Spread and Language Planning. Beijing: Beijing Language and Culture University Press. (In Chinese)
LU, W., & ZHANG, J. (2021). Talking about the Top 10 Internet Buzzwords in 2020. Journal of Language and Writing Research. 11(2), 144-145. (In Chinese)
Miller, R. (2020, April 2). A close-up at COVID-19 coronavirus attacking the lungs. Retrieved from https://medicineinnovates.com/covid-19-coronavirus-attacking- lungs/.
Xinhua. (2020, 1 May). Corona: world Health Organization named “Covid-19” to respiratory decease from new virus species.Retrieved from http://www.xinhuanet.com/comments/2020-04/24/c_1125898608.htm. (In Chinese)