ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาของเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบทของการจัดการศึกษาของเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ที่ได้จากผลการศึกษานำไปประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาและวางแผนในการพัฒนาการจัดการศึกษาของเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด (SWOT Analysis) จากข้อมูลทุกส่วนของการศึกษา และการวิเคราะห์ TOWS MATRIX Analysis แล้วจัดทำร่างเพื่อสร้างนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาของเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
จากการศึกษาพบว่ามี 4 ยุทธศาสตร์ 22 กลยุทธ์ สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1
การยกระดับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเพื่อนำไปสู่แนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มีทั้งสิ้น 6 กลยุทธ์ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีทั้งสิ้น 5 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบบริหารและการจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีทั้งสิ้น 5 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาระบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษามีทั้งสิ้น 6 กลยุทธ์
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนโยบายด้านการศึกษาภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาลที่มีแนวทางให้ส่วนการศึกษาดำเนินการตามนั้นมีความใกล้เคียงกับนโยบายจากผลการศึกษาในหลายประเด็นยุทธศาสตร์ โดยที่ทางเทศบาลนครปากเกร็ด ได้มีแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการศึกษาที่อยู่ในแนวทางเดียวกันไปแล้วในก่อนหน้า ดังนั้นทางเทศบาลนครปากเกร็ดจึงเพียงปรับประเด็นรายละเอียดให้มีความสอดรับมากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติด้านการศึกษาที่วางไว้ และควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนายุทธศาสตร์หรือนโยบาย โดยควรกำหนดเป็นรอบระยะเวลาที่แน่นอนหรือจัดทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบกับการจัดศึกษาของประเทศอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินการที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
Article Details
References
กนกวรรณ ตั้งจิตนุสรณ์. (2554). “การย้ายถิ่นของแพทย์เฉพาะทางในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศโปแลนด์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชายุโรปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง และคณะ. (2534). ปัญหาการว่างงานและการมีงานทำการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษ. กรุงเทพฯ: สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2549). นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาราวรรณ สุขคันธรักษ์. (2557). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พะยอม วงศ์สารศรี. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ ฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
Annelies, Gilis and others. (2008).“Establishing a CompetenceProfile for the Role of StudentcentredTeachersin HigherEducation in Belgium.” ResearchinHigher Education. 49(6), 531-554.
Denzin. (1978) Journal of ComparativeSocial Work 2009. 1, 294-304
Dessler, G. (2003). Human ResourceManagement. 9th ed. New Jersey:Prentice-Hall.
Raymond, N., and others. (1989). Humanbehavior at work: OrganizationalBehavior. Singapore: McGraw-Hill,Chira.