ปัญหาและแนวทางการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้เสียงเอ๋อร์ท้ายพยางค์(儿化韵) ในภาษาจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
นับแต่ประเทศจีนเข้าร่วมองค์กรการค้าโลก (WTO) ในปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา เศรษฐกิจการค้าของจีนถือว่าได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในเวทีโลกอย่างเห็นได้เด่นชัดส่งผลให้ความต้องการในการเรียนภาษาจีนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้เรียนชาวไทย การที่คนไทยหันมาเรียนภาษาจีนมากขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้มีการสอนภาษาจีนในประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานแล้วก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนชาวไทยจะสามารถสื่อสารภาษาจีนได้ถูกต้องทั้งหมดซึ่งอาจเป็นเพราะไม่เห็นความสำคัญหรือไม่เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร และหนึ่งในเรื่องที่มักถูกมองข้ามคือเสียงเอ๋อร์ท้ายพยางค์(儿化韵)เนื่องจากเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ทำให้ผู้เรียนมักจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้ในการสื่อสาร ซึ่งในบางสถานการณ์อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารได้เช่นกัน
หลายปีมานี้ ผู้เรียนภาษาจีนชาวไทยจำนวนไม่น้อยต้องประสบกับปัญหาการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ นอกจากความยากในการออกเสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยแล้ว ยังมีหลักเกณฑ์การออกเสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเสียงค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ผู้เรียนออกเสียงผิด และก่อให้เกิดความสับสนในการใช้งาน ประกอบกับจำนวนคำศัพท์ที่ใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ที่มีจำนวนไม่ชัดเจน ตลอดจนตำราที่ใช้ในประเทศไทยก็ยังมีการเรียบเรียงในเรื่องนี้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จนกระทั่งเกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการของผู้ใช้งานชาวไทย เมื่อการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์มีความสำคัญต่อการสื่อสารเช่นนี้แล้ว การเรียนการสอนการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ที่ได้มาตรฐานและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ จะนำพาประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารในอนาคตอย่างไม่เกิดข้อผิดพลาด ฉะนั้น การใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์จึงเริ่มมีผู้ให้ความสนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น บทความชิ้นนี้จึงจะทำการวิเคราะห์สภาพการเรียนการสอนภาษาจีนปัจจุบันและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ต่อผู้เรียนชาวไทย พร้อมกับเสนอแนวทางการเรียนการสอนดังกล่าว
Article Details
References
Ren Jingwen, & Suwanna Ren. (2019). Roojing Ruengjean Juggig Jor Jean 2 (Third Edition) . Bangkok: Green Life Printing House Co.Ltd.
Tienchai Eiamworamet. (2003). Chinese-Thai Dictionary (Chinese Simplified Version). Bangkok: Angsornpittaya.
Kewalee Petcharatip. (2016). The Study of Vocabulary Analysis from the Thai Universities Elementary Chinese Textbooks.3(3), 21-70.
Siriwan Wisutthirattaanakun, Kanyanat Seangyai & Patcharin Aiemsa-ard. Administrative Factors and Organization Commitment of Public Autonomous University Lecturers in Bangkok Metropolis. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. 80-99.
Huang Borong, & Li Wei. (2012). Xiandai Hanyu. Beijing, China. Peking University Publishing.
Institute of Linguistics, CASS. (2012). Xiandai Hanyu Cidian 7 thEdition. Beijing, China. The Commercial Press.
Kang Yuhua, & Lai Siping. (2017). Hanyu Huihua 301 Ju 1. Beijing: Peking Univeisity Press.
Kang Yuhua, & Lai Siping. (2017). Hanyu Huihua 301 Ju 2. Beijing: Peking Univeisity Press.
Liu Xun. (2007). Xin Shiyong Hanyu Keben 2. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Liu Xun. (2011). Xin Shiyong Hanyu Keben 3. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Yang Jizhou. (2008). Hanyu Jiaocheng 1. Beijing: Beijing Language and Culture University
Press.
Yang Jizhou. (2007). Hanyu Jiaocheng 2. Beijing: Beijing Language and Culture University
Press.
Ji Yonghai. (1999). The occurrence and development of Chinese Er Hua——Discussion with Mr. Li Sijing. Minority Language of China. 19-30.
Li Guangyao. (2014). An analysis of "Er Hua" in teaching Chinese as a foreign language. Humanities Education. 128.
Li Licheng. (1994). “A new probe into the nature of "Er Hua". Journal of Hangzhou University . 108-114.
Liang Rui. (2009). The "Er Hua" errors of Thai students in learning Chinese. Shaanxi education · Higher Education Edition. 121.
Kong Jun. (2010). “Research on the teaching of perfect Chinese with Er Hua words”.3. Research group of standardization of Er Hua and Mandarin soft tone words. (2013) . A report on the development of common Er Hua word list in Mandarin Retrieved May 22,2021, from http://ahywpc.ahedu.gov.cn/showarticle. asp?id=806
Xu yue. (2005). Problem of "Er Hua" in teaching Chinese as a foreign language. Language Teaching and Linguistic Studies. 69-75.