ศักยภาพการท่องเที่ยวและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุจิตรา จันทนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชประเทศไทย 2) เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย


          ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพการท่องเที่ยวและแนวทางการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช      มีดังนี้ 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีธรรมชาติที่โดดเด่น ได้แก่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง อุทยานแห่งชาติเขานัน อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ อุทยานแห่งชาติเขาหลวง หมู่บ้านคีรีวง เขาศูนย์ น้ำตกกรุงชิง น้ำตกอ้ายเขียว ทรัพยากรวัฒนธรรมได้แก่ วัดธาตุน้อย วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หอพระสูง (พระวิหารสูง) ศาลพระเสื้อเมือง ฐานพระสยมภูวนารถ ทรัพยากรมหกรรม ได้แก่ มหกรรมสินค้าเกษตรและของดีนครศรีธรรมราช เทศกาลผลไม้และของดีนครศรีธรรมราช ทรัพยากรกิจกรรม ได้แก่ แห่ผ้าขึ้นธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เที่ยวชมทะเลหมอกเขาศูนย์ นั่งเรือชมโลมาสิชมพูขนอม และทรัพยากรการบริการ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก สำหรับการวิเคราะห์สภาพภายในและภายนอกของจังหวัดนครศรีธรรมราช จุดแข็งคือ มีทำเลที่ตั้งเหมาะสม มีระบบการขนส่งเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่โดดเด่น เป็นเมืองแห่งอารยธรรม จุดอ่อน คือ ขาดแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการและการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โอกาส คือ จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวทางทะเล การท่องเที่ยวธรรมชาติทางบก น้ำตก และป่าไม้ อีกทั้งรวมไปถึงป่าชายเลนอีกด้วย อุปสรรค คือ การแข่งขันทางด้านการท่องเที่ยวสูง สภาวะทางเศรษฐกิจโลกถดถอย ขาดการสร้างเครือข่ายดิจิทัลในการประชาสัมพันธ์ 2) ผู้วิจัยขอนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ กลยุทธ์เชิงพลิกฟื้น กลยุทธ์รักษาเสถียรภาพ และกลยุทธ์การเตรียมพร้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การทองเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). ประเภทแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การทองเที่ยวแหง ประเทศไทย.

ธันยนิชา เกียรติ และทับทิว เลิศนรเศรษฐ. (2563). แนวทางการพัฒนาการทองเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำทุงบัวแดง ณ บางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตรและวิทยาการจัดการ. 7(2), 54-69.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พยอม ธรรมบุตร. (2558). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุศราภรณ แต่งตั้งลำ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอการตัดสินใจของนักทองเที่ยว ในการเลือกเดินทางทองเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. 4(2), 64-79.

________. (2563). ผลกระทบจากการเดินทางทองเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดสมุทรสาคร. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. 4(2), 49-63.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. นครศรีธรรมราช : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครศรีธรรมราช.

เสาวคนธ์ เหลืองทองคำ และเสรี วงษ์มณฑา. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 11(1), 19-29.

อุษาวดี พลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว. 21(4), 38-48.

Edmonds John and George Lespoky. (2009). Ecotourism and sustainable tourism development in southeast asia. Tourism in Southeast Asia. USA: K.S. Chon.

Likert, Rensis. (1968). New Pattern of Management. New York: McGraw–Hill.

Pimonsompong C. (2017). Tourism Research: Principle to Practice in Social Reflective Perspective. Journal of Business. Economics and Communications. 12(1), 1-5.

Rajesh, R. (2013). Impact of Tourist Perceptions, Destination Image and Tourist Satisfaction on Destination Loyalty: A Conceptual Model. Pasos. Revista de Turismo y Patrimonio Cultural. 11(3), 67-78.