การพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดในภาคกลางตอนล่าง 2 ภายใต้แผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานครตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564

Main Article Content

นนท์ณธี ดุลยทวีสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแนวทางการปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง 2 (จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ  กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ประชากรในกลุ่มจังหวัดภาคภาคกลางตอนล่าง 2  จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ แบบสอบถอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และ การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.พื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2 มีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวหากแต่การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของพื้นที่ในระยะที่ผ่านมา ยังเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเฉพาะชาวไทยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็น Soft Adventure 2.การส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม และประเพณีของชุมชนในท้องถิ่น เพื่อให้เป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวใหม่ๆ ของพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2 ยังขาดการดำเนินการที่จริงจังและเป็นระบบ รวมทั้ง ความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ยังไม่เข้มแข็ง ขาดความต่อเนื่องทั้งในด้านงบประมาณการวางแผนงาน และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กิจกรรมการท่องเที่ยวที่จัดขึ้นในพื้นที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวในวงจำกัด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกวรรณ ธานิสะพงษ์. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการท่องเที่ยวของ

ประซาซนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาปัญหาพิเศษ บธ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,.

กมลรัตน์ รัตนภานพ. (2551). ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จารุวรรณ แก่นทิพย์. (2550). แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอวังน้ำเขียว. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2542). สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาการทองเที่ยวภาคเหนือ.กรุงเทพฯ:

การทองเที่ยวแหงประเทศไทย. ธีระ ชีวะเกรียงไกร. (2551). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มสนุก

(สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์). วิทยานิพนธ์ รป.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิศา ชัชกุล. (2555). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรสแอนด์ดีไซน์.

ปรีชา แดงโรจน์. (2546). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสุ่ศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : ไฟว์ แอนด์โฟร์ พริ้นติ้ง

มณฑาวดี พูลเกิด. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศิวดล แก้วพวงใหม่. (2552). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตุรติตถ์. รายงานค้นคว้าวิจัยอิสระรายวิซา 154499. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,.

สุชาดา งวงชัยภูมิ. (2551). การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ซอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อำคา แสงงาม. (2553). การศึกษาศักยภาพทรัพยากรและการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism

Management ,Vol. 21 No.1. pp. 97-116.