การจัดการศึกษาทางด้านศิลปะการแสดงเพื่อตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล

Main Article Content

นัฏฐิกา สุนทรธนผล
กชกร ชูวิวัฒน์รัตนกุล
กิตติภพ แก้วย้อย
ปภัสรา วรรณวงษ์
วันท์นภัส ผจญทรพรรค
ชานนท์ บุตรพุ่ม
ณัชพร ศรฬสวรรณ
ทิพนารี วีรวัฒโนดม
ธนาวุฒิ เสือสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การจัดการศึกษาทางด้านศิลปะการแสดงเพื่อตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนที่ครูจะให้ความสำคัญแก่เด็ก เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายในการเรียนตามความสามารถของแต่ละบุคคล และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งปัญหาที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญของการเรียนการสอนคือครูมักจะจำกัดความคิดของผู้เรียนไว้ ทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการพัฒนา หรือเกิดการพัฒนาได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากศิลปะการแสดงเป็นการเรียนที่เน้นทักษะการปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรม หรือเทคนิคการสอนโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าเส้นทางและเป้าหมายของผู้เรียนนั้น ทุกคนล้วนมีเป้าหมายที่อยากจะประสบความสำเร็จในด้านการเรียนเหมือนกัน การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นต้องมีการคิดค้นรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยรูปแบบของการเรียนรู้นั้น ควรมีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการเรียนรู้นั้นควรตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบันให้ได้มากที่สุด อาจจะใช้วิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ของตนเองได้


            ดังนั้นการเรียนการสอนแบบรายบุคคลจัดว่าเป็นการเรียนการสอนที่ตอบสนองการเรียนรู้ในรายวิชาศิลปะการแสดงศึกษาได้เป็นอย่างดี เพราะจะมุ่งเน้นไปที่ตัวรายบุคคลโดยเฉพาะ รูปแบบการเรียนการสอนแบบรายบุคคล อาจไม่ใช่รูปแบบวิธีการสอนที่ดีที่สุด แต่วิธีการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเป็นทางเลือกต่อการศึกษาไทย ที่จะสามารถพัฒนาความถนัดทางการศึกษาของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้นไปไม่มากก็น้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กองวิจัยการศึกษา กรมวิชาการ. (2543). รายงานการสังเคราะห์เอกสารเรื่องวิธีการสอนและรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา.

จิติยาภรณ์ เชาวรากุล. (2563). คุณลักษณะของบัณฑิตตามความต้องการของสถานประกอบการในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร,

(2), 100-111

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และรุ่งทิวา ชูทอง. (2563). นวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 106-123

นัชนันท์ วิเชียรชม, มาลินี ประพิณวงศ์ และ อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์. (2561). การพัฒนาทักษะการพูด

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัทโดยใช้แนวคิดการเรียนการสอนรายบุคคล. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แอลทีเพรส.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2561). การเรียนรู้ส่วนบุคคล Personalized Learning. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ Learning Management. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ:บริษัทโอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.