ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

สุอังคณา ม่วงยัง
ศุภโชค มณีมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาปัญหาการทำผลงานวิจัยของอาจารย์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมงานวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่าง
เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพคือแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 118 คน จาก 15 สาขาวิชา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม แบบวัดปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับความต้องการทำงานวิจัย และแบบวัดความต้องการทำงานวิจัย โดยสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด 86 คน จากอาจารย์ทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่      ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการทำผลงานวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาระงานสอน และภาระหน้าที่อื่น ๆ ตามมาตรฐานภาระงานของ
สายวิชาการหากมีภาระงานที่มีมากเกินไป และภาระกิจในด้านอื่น ๆ จะเป็นอุปสรรคต่อความต้องการในการทำงานวิจัยของอาจารย์ได้ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัญญาวีร์ สมนึก. (2557). ปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9230/8350

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553 (ฉบับพฤศจิกายน 2553) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564, จาก https://qm.kku.ac.th/downloads/hbMUA53.pdf

จันทิมา คงจันทร์ และคณะ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุของผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ฉันทิชา มหาพสุธานนท์. (2544). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยากร หวังมหาพร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564, จาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5502

รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2557). การพัฒนาแบบจำลองเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564, จาก DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2014.2

Daft, R. L. (2000). Management (5 th ed.). Fort Worth : Dryden.

Gibb, J. B. (1969). Organizations and Human Behavior Focus on School. New York: McGraw – Hill Book.

Griffeth, R. W.; Hom, P.W.; & Gaertner. (2000). A meta-analysis of antecedents and correlates of employee turnover: Update moderator test, and research implications for the next millennium. Journal of management no.3.