การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติดนตรีสากล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)

Main Article Content

ภควัฒธฬ์ ภครัตนวนิช
สุกิจ ลัดดากลม
ธรรมนูญ จิตตรีบุตร

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนวิชา “ปฏิบัติดนตรี”  เป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ มาแต่อดีต  ในขณะที่ปัจจุบันได้เกิดปัญหาขึ้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ระหว่าง ผู้สอน และผู้เรียน ซึ่งสืบเนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) โดยทั้งนี้การเรียนวิชาปฏิบัติดนตรีจัดเป็นวิชาอีกแขนงหนึ่งที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน “การเรียนออนไลน์” เป็นทางเลือกที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ได้เป็นอย่างดี โดยการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาพัฒนาระบบการศึกษาให้ตรงตามวัตถุประสงค์กับปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา โดยทั้งนี้การเรียนการสอนวิชาปฏิบัติดนตรียังต้องอาศัย สื่อเทคโนโลยี และอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ  ที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนจากสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งควรมีการเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ  เพื่อเพิ่มความเข้าใจถึงบทบาทและองค์ประกอบของทางด้านทักษะความรู้ที่ได้จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผู้เรียน และผู้สอนต้องสามารถนำมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีคุณภาพแล้วต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุดได้        

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

สุวิมล มธุรส.(2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์ 15 (40), หน้า 36 – 38.

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID – 19 : แนวคิดและประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 14 (34), หน้า287 – 290.

นัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิลคลาสรูมรายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล บัณฑิตวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพิชญาณ์ แก้วโพนทอง และ ปชาบดี แย้มสุนท. (2564). กระบวนการการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงวิกฤติ Covid-19 ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 8 (3), หน้า 183 – 185.

ณฐภัทร ติณเวส และ ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. วรสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปกร 9 (3), หน้า 1465 – 1467.

จุฑารัตน์ นกแก้ว. (2559). การศึกษาระบบเปิด มหาวิทยาลัยเปิด การเรียนการสอนทางไกลแบบไม่มีชั้นเรียน:อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, หน้า 1 – 4.

จินดามาตร์ มีอาษา และ ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะปฏิบัติแซ็กโซโฟนคลาสสิกในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี 12 (4), หน้า 158 – 159.

ดิฐพงษ์ อุเทศธำรง. (2560). การพัฒนาทักษะการบรรเลงเดี่ยวสำหรับเครื่องลมทองเหลืองของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 8 (1), หน้า 260 – 262

วรภพ ประสานตรี. (2564). การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนปฏิบัติทางดนตรีสู่การจัดการเรียนการ สอนออนไลน์จากผลกระทบวิกฤต โควิด-19. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Journal of Humanities and Social Sciences) ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2021). หน้า 159-179.

สิริกาณณ์ ทองมาก. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษในยุคความปกติใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Journal of Humanities and Social Sciences) ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2021). หน้า 182-208.