แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กรณีศึกษา: ประชาชนบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธีมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 81 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 นั้นมีคณะสงฆ์เป็นผู้นำทางการปฏิบัติจุดมุ่งหมาย คือ โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” เป็นกระบวนการดำเนินการ และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างหมู่บ้าน วัด โรงเรียน 2) ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล5 ประกอบด้วย (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการ (2) ด้านการมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผน (3) ด้านการ มีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินโครงการ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ และ 3) แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล5 พบว่า (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการประชุมวางแผนหรือคัดเลือกกิจกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 และพิจารณาโครงการต่างๆ ที่อาจเกิดปัญหาต่อขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.54, S.D. = .742 และ.759) (2) ด้านการมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผนในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มงานต่างๆ ในชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.83, S.D. = .667) (3) ด้านการมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินโครงการมีความเห็นว่าชุมชนได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล5 ที่ชุมชนได้ร่วมกันทำสามารถแก้ปัญหาในชุมชนได้อย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.89, S.D. = .548) และ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลในการขอความร่วมมือให้องค์กรอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.63, S.D. = .679)
Article Details
References
kamolsin, C. (2018). Participation of the local community in the agricultural tourism
management in Kaen Makrut Sub-district, Ban Rai District, Uthai Thani Province.
The Journal of Pacific Institute Of Management Science (Humanities and Social
Science). Vol.7 No.2 (2021)May – August. (2021)
Khwaundin SIngkham. (2013). Integration of temple, home, school art and science of
community development. HUSO Jounal of Humanities and Social Sciences.
Vol. 4 No. 1 (January-June 2013)
Phrakhrusantiwachirakit (Wimok) and PhramahaDuangden Thitayarno, Khanthong
Wattanapradith. (2017). The Way of Conceptual Idea of Citizen Engagement
in Mobilizing the Project of Five-Precept Village for Peaceful Community
: A Case Study of Bannonedum Community, Kampaengphet Province. Journal
of MCU Peace Studies. Vol.5 Special Edition. (May) (2517)
PhramahaNikorn Paladsung, Vissanu Zumitzavan. (2517). The Investigation of Five
Percepts and Peace-Making in The Society Sustainably : A Case Study of Khon
Kaen, Thailand. Journal of MCU Peace Studies.Vol.13 No.3 (2017) (September-
December 2017)
Phramaha Boonlert Chuaythanee. (2017). The Communities Prererving Five Precepts:
Model and Promote Processes of Unities Cultural in Thai Society. Journal of MCU
Social Science.Vol. 6 No. 2 Special Edition. (April- June) (2017)
Phramaha Yutthana Narajettho (Siriwan). (2018). Concepts, Indicators, Components,
Experiences and Integration of Five Precepts villages. NRRU Community
Research Journal. Vol.12 No.2 (May – August) (2018)
Phramaha Yothin Yodhiko. (2016). Human Quality Development According to the Five
Precepts. Khonkaen: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Silanot, L. (2018). Using the estimator in research studies in the social sciences,
humanities, hospitality and tourism. Journal of Management Ubon
Ratchathani University. Vol.8 No.15 (January-June) (2019)
Sutee Worapradit. (2010). The Community Participation Information Work Trat Provincial
Office of the Non-Formal and Informal Education. Trat: Trat Provincial Office of
the Non-Formal and Informal Education.
Vroom, V. H., & Deci, E. L. (1970). Management and motivation. New York: Penguin Book.
Wanida Siriworasakul, Wacharin Intaprom. (2018). Model-Driven Five Precepts in Villages
Policy to Successed. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi
University. Vol.12 No.29 (September-December) (2018)
Yontrakarn Jinachampa and Siwarak Siwarom. (2017). Development of Community Self-
Management Model: The Case of Chopoo Sub-District Sarapee District, Chiang
Mai Province. Journal of Graduate Research. Vol. 8 No. 1 (January-June) (2017)