การพัฒนาเครือข่ายของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค

Main Article Content

สุนิสา จิตประไพย
วณิฎา ศิริวรสกุล
ชนะศึก วิเศษชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
1) องค์ประกอบของเครือข่ายศูนย์ศึกษาฯ 2) การบริหารและการจัดการเครือข่ายศูนย์ศึกษาฯ และ
3) รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ศึกษาฯ ให้มีความเข้มแข็ง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ประธานและกรรมการอำนวยการศูนย์ศึกษาฯ จำนวน 17 คน วิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาโดยวิธีการแบบสามเส้า และสอบถามกลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกของศูนย์ศึกษาฯ จำนวน 194 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์ศึกษาฯ มีองค์ประกอบของเครือข่าย สามอันดับแรก คือ
การสื่อสาร ร้อยละ 90.72, สมาชิก ร้อยละ 88.97 และโครงสร้าง ร้อยละ 87.54 และไม่มีองค์ประกอบของเครือข่าย สามอันดับแรก คือ กระบวนการปฏิบัติงาน ร้อยละ 15.06, เป้าหมาย ร้อยละ 17.43 และกิจกรรม ร้อยละ 14.72 2) การบริหารและการจัดการเครือข่าย สามอันดับแรก คือ การประสานงานและกลยุทธ์ (= 3.92) การจัดการบุคลากรและการสร้างการมีส่วนร่วม (= 3.82) และการรายงานผล (= 3.79) และ 3) รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ศึกษาฯ ให้มีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย 5 ด้านคือ การวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ การบริหารและการจัดการเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วม การกำกับและควบคุมการปฏิบัติงาน การประเมินผล และการรายงานผล

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)