การนำนโยบายการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่นไปสู่การปฏิบัติ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดระนอง

Main Article Content

ธวัช พุ่มดารา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการเกิดขึ้นของคนไทยพลัดถิ่น และสภาพปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดระนอง 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่นไปสู่ปฎิบัติ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดระนอง 3) ศึกษาผลกระทบของดำเนินการตามนโยบายต่อหลักสิทธิมนุษยชนในการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น และ 4) เสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายภาครัฐในการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่นไปสู่ปฎิบัติ  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 42 คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอนโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ


          ผลการวิจัยพบว่า (1) บริบท และสภาพปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดระนอง ได้เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลา ซึ่งหลังจากพม่าได้รับเอกราชมาจนถึงช่วงการจัดทำ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 รัฐไทยเริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาคนไทยพลัดถิ่นมากขึ้น  (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่นไปสู่การปฏิบัติได้แก่ 1) รัฐมีนโยบายและกฎหมายมาบังคับใช้โดยชัดเจน 2) ทรัพยากรด้านบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสัญชาติขาดแคลน เจ้าหน้าที่ยังขาดความเข้าใจในกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ  และงบประมาณมีจำนวนจำกัด 3) การสื่อสารในหน่วยปฏิบัติกับผู้ขอคืนสัญชาติยังไม่ทั่วถึง 
4) หน่วยงานในภูมิภาคต้องรอการตัดสินใจเชิงนโยบายจากส่วนกลางเป็นหลัก 5) โครงสร้างรายได้ไม่แน่นอน นโยบายการเมืองเปลี่ยนแปลงบ่อย และการเข้าไม่ถึงสวัสดิการด้านสังคม  6) เจ้าหน้าที่เน้นดําเนินการตามหลักกฎหมายมากกว่าการคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน (3) ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่คนไทยพลัดถิ่นไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานได้แก่ การรักษาพยาบาล การศึกษา การประกอบอาชีพ การเดินทาง เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chanon Hnuthong. (2017). An effectiveness of implementation of the Nationality Act (No.5), B.E. 2555 with special emphasis on granting Thai citizenship to Thai diaspora in Mueang Ranong, Ranong Province. Journal of the Faculty of Humanities and Social Sciences, vol. 8, no. 1, (January - June 2017).

Chuti Ngamurulertand, & Rung Srisomwong. (2018) Legal Measures to Solve Problems of Naturalization as a Thai: The Case of Stateless Persons. MFU Connexion:Journal of Humanities and Social Sciences Vol. 8 No. 1 (2019): (January – June 2019) Page 345 – 369

Itthichai Seedum. (2010). Factors Affecting the Implementation of the Peace Building Process in the four Southernmost Provinces of Thailand Policy: A Case of Study of Pattani Province. (Thesis). Bangkok. Mahidol University.

Monchai Phongsiri, & Maniemai Thongyou. (2013). Generic Immigrant or Diaspora?: Negotiation on Self-defining of Thai Diaspora in Thai Society. Journal of Mekong Societies: Vol.9 No.2 (May-August 2013)

Niyom Yakron. (2019). Problems and Development Accessing Basic Rights and State welfare of Stateless People. Udon Thani Rajabhat University Academic Journal. Vol. 7 No.2 (July – December 2019).

Office of Registration Management Department of Administrative Affairs Ministry of Home Affairs. (2023).

Phra Rewat Witchupraphakon, & Petcharat Saisombut. (2018). Implementation of Policy on Registration of Thai Nationality: Case Study of Khong Chiam District, Ubon Rachathani Province. The 8th STOU National Research Conference. The 8th edition was held on November 23, 2018.

Pitnitha Pannasil, Pakdee Phosing, and Sanya Kenaphoom.(2016).Corruption in the Thai Bureaucracy: The Guidelines on Prevention and Solution. Journal of MCU Peace studies. Vol. 4 No.2 (July – December 2016)

Suwanai Thakumsorn.(2016).Civil Right of Thai Diasporas.Journal of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University. Volume 35 Issue 1 (January – February 2016).

Thirawuth Senakham. (2007). Thai diaspora and limitations of nation-state knowledge in Thai society. Bangkok. Thammasat University.

Udomkhet Ratnui. (2009). Treatment of statelessness with Thai government policy (... Lemogans and Thai diaspora). Project to expand knowledge from Mae Ai to Andaman for addressing the issue of individual rights of stateless people.

Wararat Kaewjanlao, & Washiraporn Wannachot.(2019). Ways Forward to Develop Thai Displaced People’s Quality of Life: Communities of Klong Makarm Village and Klong Son Village, Hart Lek sub-district, Klongyai district, Trat province. Journal of Man and Society Faculty of Humanities and Social Sciences. Vol. 5 No.1 (July – December 2019)

Wisan Srimahawaro. (2013). The Strategy of Security and National Power Involved in Human Rights: A Case Study of Thai Diaspora Chumporn Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Vol.5 No.2 (July – December 2013)