ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะธรณีสัณฐานภูเขาไฟลำนารายณ์

Main Article Content

ณัฐพร ยวงเงิน
ระภีพร สามารถ
อนุวัฒน์ คชวรรณ
ฉัตรศิริ กลั่งเนียม

บทคัดย่อ

            บทความนี้นำเสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภูเขาไฟลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ผ่านกระบวนการเรียนการสอนโดยการศึกษาข้อมูลจากภาคสนามและข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน สัณฐานที่พบได้แก่ เทือกเขาสูงหินภูเขาไฟลำนารายณ์ เขาโดดและเนินเขา เนินลาวา ตะพักลำน้ำ และที่รบน้ำท่วมถึง พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะธรณีสัณฐานภูเขาไฟลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วยธรณีวิทยาโครงสร้าง ได้แก่ ธรณีแปรสัณฐาน เป็นแรงที่กระทำต่อเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในบริเวณดังกล่าว และกลุ่มรอยเลื่อน พบรอยเลื่อนและรอยแตกของหินในบริเวณภูเขาไฟลำนารายณ์อย่างน้อย 3 แนว คือ แนวเหนือ - ใต้ แนวตะวันออกเฉียง เหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้ ธรณีวิทยาลำดับชั้นหิน พบว่า หินที่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นหินอัคนีพุที่ขึ้นมาเย็นตัวบนผิวโลก แบ่งออกเป็น 3 พวกตามส่วนประกอบของแร่ในหินได้แก่ หินภูเขาไฟหน่วยแอนดีไซต์และหินบะซอลติกแอนดีไซต์ หินภูเขาไฟหน่วยหินไรโอไลต์ (ry) และหินภูเขาไฟหน่วยหินบะซอลต์ (bs) ลักษณะภูมิอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิและน้ำฝน อุณหภูมิจะส่งผลต่อการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพ ส่วนน้ำฝนเป็นตัวการธรรมชาติที่ทำให้เกิดการกร่อนของหินบริเวณกรวยภูเขาไฟและเนินลาวา เป็นแหล่งกำเนิดของตะกอน และพัดพาตะกอนมาทับถมในบริเวณที่ต่ำ และน้ำฝนยังมีอิทธิพลต่อกระบวนการสร้างหน้าตัดดิน ซึ่งจะส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของดินที่สลายตัวมาจากหินบะซอลต์ ปัจจัยสุดท้ายคือ สิ่งปกคลุมดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนของหินและดิน รวมทั้งพัฒนาการของการสร้างดิน

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ (Academic Article)

References

The Meteorological Department. (2011) Thailand climate statistics 1980-2009. The Meteorological Department.

. (2009). Thailand climate statistics. Bua Chum Meteorological Station Chaibadan District.

Department of Land Development. (2010) land use area Chai Badan District Lopburi Province. Land Development Office Region 1. Pathum Thani, Bureau of Soil Survey and Land Use Planning Ministry of Agriculture and Cooperatives.

. (1995) Soil Survey Report, Volume 405. Soil Survey and Classification Division, Ministry of Agriculture and cooperatives.

. (2008) soil survey report for agriculture Lopburi Province. Bureau of Soil Survey and land use planning Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Department of Mineral Resources. (2007). District classification for geological and mineral resource management in the Lopburi province. Department of Mineral Resources Ministry of Natural Resources and Environment

. (2007). Geology of Thailand. (2nd edition). Bangkok: Department of Mineral Resources. Ministry of Natural Resources and Environment

Kasem Chankaew. (2008). Principles of watershed management. Bangkok. Kasetsart University.

Nattaporn Yuangngoen & Rapeeporn Samart. (2017). Potential Geomorphic Attractions multi lava area Wichian Buri District Phetchabun Province. Bangkok. Faculty of Humanities and Social Sciences Phranakhon Rajabhat University

Panya Jarusiri et al. (1999). Volcanic landscapes and geological features of volcanic rocks Lam Narai area Lopburi Province using satellite image data and aerial geophysics. Natural Resources Satellite Survey Division National Research Council of Thailand. Bangkok.

Wattana Tansathien. (2003). Geology surrounding Khao Yai Kata Chai Badan District Lopburi Province. Bureau of Geology, Department of Mineral Resources.

Sereewat Saminpanya (2000). Rock and Earth. Bangkok. Suweeriyasan.