ระเบียบวิธีการบรรเลงเดี่ยวจะเข้ของครูสุธารณ์ บัวทั่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องระเบียบวิธีการบรรเลงเดี่ยวจะเข้ของครูสุธารณ์
บัวทั่ง โดยทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และจากการสัมภาษณ์จากครูสุธารณ์ บัวทั่ง ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบวิธีในการบรรเลงเดี่ยว พื้นฐานการบรรเลงจะเข้ ระเบียบวิธีการบรรเลงเดี่ยว และการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวจะเข้ของครูสุธารณ์ บัวทั่ง จากการศึกษาข้อมูลพบว่าผู้มีทักษะที่จะบรรเลงเพลงเดี่ยวพึงมีคือ ความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่จะทำให้การบรรเลงเดี่ยวออกมาประสบความสำเร็จ และมีความถูกต้องตามหลักกระบวนการดนตรีไทย เครื่องมือจะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยนิยมเดี่ยวกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ความรู้และความสามารถทักษะของการบรรเลงเดี่ยวนั้น ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน และมีความอดทนอดกลั้นในการฝึกฝน ฝึกซ้อม เพื่อให้เกิดทักษะในการบรรเลงจะเข้ที่เชี่ยวชาญมากขึ้น และการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางจะเข้ของครูสุธารณ์ บัวทั่งจะเป็นในรูปแบบของการถ่ายทอดในลักษณะของสำนัก หรือบ้านดนตรีที่ผู้เรียนต้องฝากตัวเข้าเป็นศิษย์เสียก่อน การฝึกหัดดนตรีไทยตามแบบครูโบราณ จึงถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีไทยที่ทรงคุณค่ายิ่ง แฝงไว้ด้วยศาสตร์และศิลป์แห่งการดนตรีได้เป็นอย่างดี
Article Details
References
Limpachai., S (2020). Primary Khim Solo ( 2nd Print), Bangkok, Sahathammic Co., Ltd.
Printing
Suttajit., N.(1996). Musical Activity for Teacher, Bangkok: Chulalongkorn University Printing
Poonpit Amartayakul (1984) Dontrivichak: Knowledge of Thai Music for Appreciation,
Bangkok. Siam Printing House, Printing Period
Suraphan Tansriwong. (1995). Teaching Method. Bangkok : Siam Sport Syndicate.
Samart Chansoon. (1993). Folk Wisdom and Rural Development. ( Volume 1) Bangkok:
Ammarin Printing Group.
Songsiri Saprasert. (1999).The Category of Folk Wisdom Transfer. Master's Thesis in Adult
and Continuing Education, Mahidol University.