THE CONSERVATION AND INHERITING OF THE ANCIENT WISDOM OF ARRANGING KHAN MAK IN NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE

Main Article Content

อริสรา จิตรา
ราชันย์ นิลวรรณาภา

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของการจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราช 3) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ และการสืบสานการจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการจากกลุ่มประชากร 2 อำเภอ คัดเลือกแบบเจาะจง
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 32 คน


          ผลการวิจัย พบว่า การจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นไปตามความเชื่อและประเพณีนิยม ให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายเป็นผู้ไปขอหรือทาบทาม (แยบเมีย) ขันหมาก ประกอบด้วย เชี่ยนเฒ่า ขันหมากหัว ขันหมากถาม (คอ) ขันหมากต่อ (คาง) พานหมาก 15 คำ ผ้าไหว้ เทียนไหว้ เครื่องเทียบผลไม้และขนมมงคล เครื่องเซ่นวักตักแตน อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดของอำเภอเมืองใช้ 25 อย่าง อำเภอฉวางใช้ 24 อย่าง รูปแบบการจัดมีเอกลักษณ์เฉพาะเหมือนกัน ได้แก่ จัดพลู เรียกว่า วนพลูส่วนภาชนะที่ใส่ขึ้นอยู่กับความสวยงามและถูกต้องตามแบบโบราณอย่างเคร่งครัด สภาพปัจจุบันและปัญหา พบว่า ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญาการจัดขันหมากแบบโบราณ ผู้ที่มีความรู้มีประสบการณ์มีอายุ 60 – 80 ปี ไม่มีการถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เด็กรุ่นใหม่ทีมีอายุ 40 ปีลงมาไม่มีผู้ใดที่สนใจ แนวทางควรจัดการอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจหรือใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเน้นในเรื่องของความประหยัดและการใช้บริการทางธุรกิจในการจัดแบบธรรมดา แนวทางควรส่งเสริมให้มีการจัดขันหมากแบบโบราณ เพื่อการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักในเชิงอนุรักษ์ ด้านการจัดแบบโบราณเนื่องจากปราชญ์ผู้มีความรู้ในเรื่องการจัดขันหมากมีอายุมากขึ้นขาดช่วงการถ่ายทอด แนวทางเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ด้านการจัดขันหมากแบบโบราณ มีการจัดอบรมให้แก่ผู้สนใจนักเรียน นักศึกษาและกลุ่มผู้สนใจ ด้านการประชาสัมพันธ์ไม่มีเฟสบุ๊ค ไม่มีเครือข่าย แนวทางควรมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็ปไซต์ เฟสบุ๊ค สร้างเครือข่ายกับร้านจัดดอกไม้และมีแพ็กเกทให้เลือกตามความเหมาะสมตามงบประมาณที่ตั้งไว้ แนวทางการอนุรักษ์และการสืบสาน พบว่า ควรจัดทำเป็นหลักสูตรจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาท้องถิ่น จัดทำเป็นข้อมูลในเว็ปไซด์ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็นหนังสือ วีดีทัศน์ ซีดีเผยแพร่ให้ผู้สนใจ จัดฝึกอบรมเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ หาตลาดเพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีงานทำก่อให้เกิดรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็งและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Charuek Sanguanphong, et al. (2009). The wedding traditions of the Thai Phuan people, Hin Pak Subdistrict, Ban Mi District Lopburi Province. Valaya Alongkorn Rajabhat

University Under the Royal Patronage.

Ekawit Na Thalang. (1998). Folk wisdom of the four regions: way of life and learning of Thai villagers. Kittimatee Project, Department of Education Sukhothai Thammathirat Open University.

Khanita Jitchinakul. (2002). Folklore. Odeonstore.

Patcharin Ratchaphonsaen. (2013). Organizing learning activities according to Davies' model on making a Khanmak tray that has an effect on academic achievement and commitment to work of Mathayomsuksa 2 students. 2. [Master’s Thesis, Mahasarakham University].

Pratum Chumpengpan. (2015). Southern arts and culture. geography history, archeology,

art, language, folk culture and traditions. Suviriyasasan.

Preecha Noonsuk, and Chaliew Ruangdet. (1999). Marriage in Thai Buddhist culture. In The

cultural encyclopedia Southern Region (Volume 6, pp. 2780-2795). Thai Cultural

Encyclopedia Foundation. Siam Commercial Bank.

Supang Chantavanich. (2010). Qualitative research methods. (18th Edition).

Chulalongkorn University Press.

Supattra Suphap. (1982). Thai society and culture, values, family, religion, traditions.

Thaiwattana Panich.

Thanikarn Chayantrakom. (2013). Changing Attitudes: A Study of Thai Wedding Traditions.

Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University. 16. 89-98.

Thitaree Koma, and Chairat Wongkitrungrueang. (2016). Changes in marriage of the Mon

people of Ban Wang Ka, Nong Lu Subdistrict, Sangkhla Buri District. Kanchanaburi Province. Social Development Branch Faculty of Education Kasetsart University.