THE PLAYING OF RANAD-EK MAHORI IN TAB MAHORI OF BAN PATTAYAKOSOL

Main Article Content

กฤษฎา นุ่มเจริญ
สาริศา ประทีปช่วง
ดุษฎี มีป้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การบรรเลงระนาดเอกมโหรีจากตับมโหรี บ้านพาทยโกศล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับตับมโหรี บ้านพาทยโกศลและเพื่อศึกษาการบรรเลงระนาดเอกมโหรีจากตับมโหรี บ้านพาทยโกศล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นกระบวนการวิจัยเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ สามารถใช้เป็นข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพของระนาดเอกมโหรี


            ผลการวิจัย พบว่า ตับมโหรี บ้านพาทยโกศลนั้น เพลงตับส่วนใหญ่มีเพลง 5 เพลง ยกเว้นตับนางนาคและตับนกกระจอกเท่านั้น จะมี 6 เพลง ใช้อัตราจังหวะสองชั้น และใช้หน้าทับ 2 ประเภทได้แก่ หน้าทับปรบไก่ สองชั้นและหน้าทับสองไม้  ลักษณะการดำเนินทำนองทั่วไปเป็นแบบดำเนินทำนอง มีสำนวนบังคับทางและกึ่งบังคับทางอยู่บ้างในบางเพลง และพบการใช้ลูกโยนซึ่งมีลักษณะการบรรเลงอย่างเดียวกันกับเพลงเรื่อง และการใช้สำนวนในเพลงหน้าพาทย์ ในส่วนของทางระนาดเอกมโหรีในตับมโหรีบ้านพาทยโกศลนั้นมีการใช้กลอนระนาดในลักษณะต่าง ๆ เช่น กลอนร้อยลูกโซ่ กลอนไต่ลวด กลอนม้วนตะเข็บ กลอนย้อนตะเข็บ กลอนสับ กลอนลอดตาข่าย นอกจากนี้ยังมีการดำเนินทำนองที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสอดคล้องกับลักษณะเสียงของระนาดเอกมโหรี และมีการใช้เทคนิคพิเศษที่เป็นแบบแผนในการบรรเลงระนาดเอกมโหรีบรรเลงเพลงอื่น ๆ ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Amayatayakul Poonphit. (1986). Musical appreciation. Bangkok: Faculty of Medicine,

Mahidol University.

Amatayakul Poonpit, 2018, interview, Nov 27, 2018.

Arunrat Phongsin. (2010). Mahoriwijak. Bangkok : Charansanitwong Printing.

Damrong Rajanubhab. (1973). His Royal Highness Prince Krom Phraya, 1862-1943 (1973).

Legend of the Piphat gamelan instrument. Religious Printing House.

Phongphrom Jongkol. (2018). Interview, Nov 24, 2018.

Phu Khao Thong Saeng.(1996). Thai music and the entrance to Thai music. Bangkok : Dr.Sax.

Pikunsri Chalermsak. (1999). Sangkeet Niyom on Thai Music. 2nd printing,

Bangkok: Odeon Store.

Pitsanu Boonsri-anan. (2008) A Studt of Master Nathapong Sowat’s ranaed Ek Techniques and Variatons In Pleng Tra For Thai Music Wai Kru Ceremony. Presented in Fulfillment of the Requirements For the Master of Fine Arts Degree in thnomusicology At Srinakharinwirot University

Pisanu BoonSrianan (2551). A STUDY OF MASTER NATHAPONG SOWAT ‘S RANARD EK

TECHNIQUES AND VARIATONS IN PLENG TRA FOR THAI MUSIC WAI KRU CEREMONY. Presented in Fulfillment of the Requirements For the Master of Fine Arts Degree in Ethnomusicology At Srinakharinwirot University, May 2008.

Pliwma Perapol and Komkam Pattara, (2022). PERFORMANCE METHODS OF WONG PIPHAT

MON BY THE PATTAYAKOSOL PIPAT ENSEMBLE AT THE ROYAL CREMATION CEREMONY FOR HIS MAJESTY KING BHUMIBOL ADULYADEJ, Music and performing arts journal, faculty of music and performing Arts, Burapha University, V.8 issue 1 January – June 2022.

Royal Academy. (1999). Royal Institute Dictionary. Bangkok: Nanmee Books Publishing,.

Tangcharoen, Virun. (2009). Aesthetics for life. 2nd. Bangkok: Santi Siri Karn Pim

Thaworn Sriphong (2530). Ranaat Eektechnique Rue-La-Deu,The case study of Prasit Thavorn.

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts. Faculty of Music, Bangkok Thonburi University, 7(1) , 2563 (January – June).

Tramote Boontham. (2002). Lecture on Thai Music. Bangkok : Chuanpim.

Yupho Thanit. (1980). Thai musical instruments along with The legend of the

combination of the Piphat gamelan and string instruments. Bangkok: Fine Arts Department.

Yupho Thanit. (1987). Thai musical instruments. Bangkok : Fine Arts Department