บทบาทหน้าที่ที่คาดหวังกับบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาระดับบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี และ (4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 210 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล แตกต่างกัน เพศและประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหาร ไม่แตกต่างกัน ส่วนตำแหน่งงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chutharat Pradabpetch, Chiraporn Praevanit, & Wanida Wathanagool. (2015). Expected roles and Actual roles of the office of educational administration based on the perception of the service receiver, faculty of tropical medicine, Mahidol Uinversity. Journal of Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences), 7(13), 32-46.

Best, John W. (2001). Research in Education. New Jessey: Englewood Cliffo.

Bidhya Bowornwathana. (2013). Integrative Management. Nonthaburi: Office of the Civil Service Commission.

King Prajadhipok’s Institute. (2009). Political Correctness. Retrieved on February 13, 2021, from http: //www.thaipoliticsgovernment.org/wiki/.html.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Pitnitha Pannasil. (2015). The Role of Executive in the 21st Century. Journal of MCU Peace Studies, 3(2), 151-152.

Saowaluck Winaidham. (2009). The Role of Rayong Municipality to Problem Solving on Non-registered population : A Case Study of Professional woman. Master of Public Administration Independent study Bachelor of Public Khon Kaen University.

Snguan Sutthiloetarun. (2007). Human Behavior and Self Development. 7thed. Bangkok: Publisher Aksaraphiphat.

Surin Kaewmanee. (2015). A Model of Participator Management through governing board for promoting the efficiency of the primary educational service area office. Thesis education administration Naresuan University.

Thapanee Boonyakiat, T. (2016). The Perception of Organizational Climate Influenced Work Commitment and Organizational Citizenship Behavior. Independent Study Graduate degree Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Vanidchaya Manissoern. (2015). Quality of work, perceived organizational climate, and turnover intention: the mediating role of the organizational commitment. Master of Arts thesis Department of Industrial and Organizational Psychology Thammasat University.

Wanwisa Angsukiettavorn. (2018). The Comparative Study of The Actual and Expected Roles of School Administrators in Promoting on Lifelong Learning of Teachers Under The Secondary Educational Service Area Office 3. Thesis Master of Art Educational Administration Phranakhon Si Ayutthaya University.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publication.