กลยุทธ์การจัดการอาชีวศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก

Main Article Content

สมพร ชูทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการอาชีวศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ในวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก (2) สร้างกลยุทธ์การจัดการอาชีวศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคมในวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก การวิจัยนี้ใช้แบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสำาหรับวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และเจ้าของสถานประกอบการ ทั้งหมด จำานวน 63 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบเจาะจงการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การจัดประชุมสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้วางแผนกลยุทธ์และประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยใช้เทคนิคเดลฟาย


          ผลการวิจัยพบว่า


          1. สภาพแวดล้อมของวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ที่อยู่ในสภาพที่ไม่น่าพึงพอใจเนื่องจากสถานศึกษายังขาดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาและนำาความรู้ไปประกอบอาชีพได้ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนขาดการส่งเสริมเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในเรื่องความรักความสามัคคี การให้อภัย และการเสียสละ นอกจากนี้ ผู้เรียนยังขาดทักษะด้านการสื่อสารในการใช้คำาพูดเชิงสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม จึงไม่สามารถสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้


          2. กลยุทธ์การจัดการอาชีวศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่ (1) กลยุทธ์การประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย (2) กลยุทธ์การสร้างคุณค่าผู้เรียน (3) กลยุทธ์การจัดการการเรียนรู้และ (4) กลยุทธ์การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุขกลยุทธ์หลักและกลยุทธ์ย่อย 4 กลยุทธ์ ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสามารถนำาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] บรรเลง ศรนิล และคนอื่น ๆ. (2548). รายงานการวิจัยเส้นทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำากัดภาพพิมพ์.
[2] ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา. (2557) สรุปผลการสำารวจพฤติกรรมเสี่ยงของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเกษกหนองจอก ปีการศึกษา 2557. มปพ.
[3] ชลัยพร อมรวัฒนา. (2551). โครงการศึกษาวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาเมืองและชนบทที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
[4] ปรัชญา กมลเพชร. (2558). ปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนเตรียมทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
[5] สุริยะ พุ่มเฉลิม. (2558). การพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศเพื่อจัดการการศึกษาแบบบูรณาการการเรียนการทำางานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9 (2-4), 76-78.
[6] สานิลักษณ์ พรหมฮวด. (2558). แนวทางพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนา สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษากำาแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำาแพงเพชร.