ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออก ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โกลไฟน์ เมนูแฟคเจอร์เรอส์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กฤษนพร ศุกรนันท์
ฤทัยรัตน์ พามา
อุมาพร ไชยจำาเริญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออกและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับแนวโน้มการตัดสินใจลาออกของพนักงานฝ่ายผลิต
บริษัท โกลไฟน์ เมนูแฟคเจอร์เรอส์ จำากัด (มหาชน) จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท โกลไฟน์ เมนูแฟคเจอร์เรอส์ จำากัด (มหาชน) จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 294 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้ตอบแบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรายได้ 15,001 บาทขึ้นไป และมีระยะเวลาปฏิบัติงานน้อยกว่า 1 ปี
2. ปัจจัยด้านการบริหาร พนักงานมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน รองลงมาปัจจัยด้านค่าตอบแทน และสวัสดิการ ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง คือปัจจัยด้านความก้าวหน้าในการทำงานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง
3. แนวโน้มการตัดสินใจลาออกพบว่า พนักงานมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับน้อยเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง คือ ปัญหาส่วนตัวส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ งานที่ได้รับมอบหมายไม่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ น่าเบื่อ จำเจ ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้งานใหม่ ๆ งานที่ได้รับมอบหมายมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูง ตลอดจนปัญหาสุขภาพส่วนความคิดเห็นที่อยู่ในระดับน้อย คือ ผู้บังคับบัญชาไม่ให้ความยุติธรรม สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่มีพี่เลี้ยงช่วยสอนงาน เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน ถ้าเพื่อนร่วมงานลาออกจะลาออกตาม ถ้าเพื่อนร่วมงานชวนเปลี่ยนงานโดยมีค่าตอบแทนที่สูงกว่าจะลาออกทันที การเดินทางระหว่างบ้านกับสถานที่ทำางานไม่สะดวก และชีวิตขาดสมดุลเนื่องจากทำางานหนักเกินไป
4. การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารและแนวโน้มการตัดสินใจลาออก พบว่าโดยรวม ไม่มีความสัมพันธ์กัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนสิชา อนุกูล. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่องค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎว ไ ล ย อ ล ง ก ร ณ ์ ใ น พ ร ะ บ ร ม ร า ชู ป ถั ม ภ ์ปีพุทธศักราช 2553. คณะวิทยาการจัดการมหามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

วัชรา มณีกาศ. (2543). สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและความยึดมั่นผูกพันต่องค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช. ปริญญานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการพยาบาล) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิมะ หุตาคม. (2541). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี. ภาคนพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

อารี เพชรผุด. (2543). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

วิจารณ์ คงน้อย (2547). การศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของฝ่ายผลิตน้ำบางเขนของการประปานครหลวง. โครงการบัณฑิตศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ :มหาวิทยาลัยนิด้า.

อนันต์ รุ่งผ่องศรีกุล. (2541). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสำาเร็จในงาน ความพึงพอใจในงานและแนวโน้มที่จะลาออกจากองค์กรของผู้แทนขายยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กัณฐณี แสงพินิจ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกจากงานของพนักงานแผนกไอซีที เซอร์วิส บริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จากัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.