การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสาน ตามแผนการสอนฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการ MIAP รายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

Main Article Content

รัชพล กลัดชื่น
กฤช สินธนะกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการ MIAP รายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย 2) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 4) หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนา
ขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม จำานวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนสมรรถนะแบบผสมผสานรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ระบบการจัดการเรียนออนไลน์ schoology แบบประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคและวิธีการสอนบนเว็บ แบบประเมินความ
พึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามทฤษฎีของเมกุยแกนส์ และการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก2) บทเรียนดังกล่าวมีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.44 ซึ่งสูงกว่า 1.00 จึงถือว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนบนระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์อยู่ในระดับมาก ดังนั้นสรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย schoology สามารถนำาไปใช้เป็นสื่อการสอนและช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). การศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นจาก https://km.li.m a h i d o l . a c . t h / t h a i - s t u d i e s - i n -thailand-4-0/

ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ.(2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน :สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25 (85), 31-36.

TeachThought Staff. (2018). Find The Model That Works For You: 12 Types Of Blended Learning. สืบค้นจาก https://www.teachthought.com/ learning/12-types-ofblended-learning/

ภาสกร เรืองรอง,รุจโรจน์ แก้วอุไร,วินัย ปานโท้, ยุทธนา พันธ์มี, วสันต์ ศรีหิรัญ,พันธุ์ทิพย์ ลิมปะพันธุ์, รัตนาภรณ์ ลอสวัสดิ์ และเพ็ญภรณ์ เหลี่ยวเจริญวัฒน์. (2557). “Blended Learning กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21” สืบค้นจาก http://nueducation2556. blogspot.com/2014/02/blendedlearning-21.html /

Asif Irshad Khan, Noor-ul-Qayyum, Mahaboob Sharief Shaik, Abdullah Maresh Ali, & Ch. Vijaya Bebi. (2012). Study of Blended Learning Process in Education Context. I.J.Modern Education and Computer Science, 2012, 9, 23-29. Retrieved from http://www.mecs-press. org/)DOI: 10.5815/ijmecs. 2012.09.03

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Design e-learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

สุริยาวุธ เสาวคนธ์ และโกเมศ กาบแก้ว. (2561) การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาการวิเคราะห์ไฟฟ้า 1 เรื่องพื้นฐานวงจรไฟฟ้าของผู้เรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงวิจัย, 1 มีนาคม 2561. หน้า 676-686.

Jon Ord. (2012). John Dewey and Experiential Learning: Developing the theory of youth work. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/270338098_John_Dewey_and_Experiential_Learning_Devel oping_the_theory_of_youth_work

เพ็ญพร ใจเย็น และธันว์รัชต์ สินธนะกุล. (2556) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบสาธิตเรื่องหนังสือราชการประเภทต่าง ๆ วิชาโปรแกรมประมวลผลคำาประยุกต์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, ฉบับพิเศษ, 32-44.

เกรียงวุธ นีละคุปต์. (2559). การพัฒนารูปแบบการออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิงโดยใช้ส่วนประสมการตลาด. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์

เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.