การศึกษาการพัฒนาการนำเสนองานก่อสร้าง ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR)

Main Article Content

ณัฐพร เขียวแก้ว
วิชัย คุ้มมณี
ศรยุทธ กิจพจน์
จิราภร คุ้มมณี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำนวัตกรรมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) และโปรแกรม Revit มาใช้ประโยชน์ในงานทางด้านนำเสนอและออกแบบงานด้านก่อสร้างเพื่อนำเสนอให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยหาคุณภาพและศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างที่นำเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) มาประยุกต์ใช้ในการนำาเสนองานการก่อสร้างจริง จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ค่าทางสถิติที่ทำาการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า จากการทดลองนำาเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) มาประยุกต์ใช้ในการนำเสนองานการก่อสร้างที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จากผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08 ผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองนำเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) มาประยุกต์ใช้ในการนำาเสนองานการก่อสร้างอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 จึงสรุปได้ว่านวัตกรรมการสร้างภาพจำลองเสมือนจริงเพื่องานก่อสร้างสามารถลดปัญหาความผิดพลาดในการนำเสนอโครงการต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของงบประมาณที่อาจจะสูงเกินความเป็นจริงที่ตั้งเป้าหมายไว้และยังทำให้การสื่อสารระหว่างโฟร์แมนกับผู้บริโภคได้มีการประสานงานกันโดยผ่านโปรแกรมเพื่อให้การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากค่าเฉลี่ยรวมที่ 4.27 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 มีภาพรวมอยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสกสรร ตีงี. กรณีศึกษาปัญหาความล่าช้าในทัศนคติของผู้รับเหมากับโครงการก่อสร้างอาคารในเขตอำาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53637.

ศิลป์ชัย ถิรวัฒน. บริหารคน – ปัจจัยสำาคัญของการบริหารงานก่อสร้าง เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 จากhttp://www.thaiengineering.com/2015/index.php/technology/i t e m / 4 4 5 - p e o p l e - m a n a g e m e n t -the-key-element-of-the-administrationbuilding.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : เทพเนรมิตการพิมพ์, 2541.

รัฐพล ลิ้มตรีวรศักดิ์. (2560). การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์โดยใช้เทคนิคการนำาเสนอแบบอินโฟกราฟิกร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) สำาหรับชุมชนกระบวนกร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี