การพัฒนาโครงหลังคาปรับระดับ

Main Article Content

พรรณี พุทธเจริญทอง
ภาณุเดช ขัดเงางาม
ฐิติชญา ศรีสุข
พิชิต เด็ดดวง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างโครงหลังคาปรับระดับ 2) ศึกษาการทรุดตัวของโครงหลังคาปรับระดับ โดยการวิจัยนี้ได้ออกแบบและก่อสร้างโครงหลังคาปรับระดับ และหาค่าการทรุดตัวของ
อาคารตัวอย่างจำานวน 5 หลัง ในพื้นที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินประสิทธิภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีใบประกอบวิชาชีพควบคุมและผู้เชี่ยวชาญที่มีใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
เลือกอย่างเจาะจง จำานวน 3 คน ทำาการเก็บรวบรวมข้อมูลการทรุดตัวทุก ๆ 15 วัน ตลอดระยะเวลา 4 เดือนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) –ผลวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการออกแบบโครงหลังคาปรับระดับมีประสิทธิภาพสอดคล้องและถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิศวกรรมมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.66-1.00 ผลการทดสอบหาค่าการทรุดตัวของโครงหลังคาเฉลี่ยของการเก็บข้อมูล 8 ครั้ง ได้ค่าการทรุดตัวมากที่สุด เท่ากับ 0.5 มิลลิเมตร ค่าทรุดตัวรวมตลอดช่วงเวลาทดสอบ เท่ากับ 4.00 มิลลิเมตร ค่าการทรุดตัวเฉลี่ยรวมทุกหลังเท่ากับ 0.39 มิลลิเมตร และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.02

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ อินทรนนท์. (2559). โครงสร้างหลังคาเหล็กและงานอะลูมิเนียม. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์คอร์ฟังก์ชั่น

สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำานักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ.(2558) วาระปฏิรูปที่ 27 : การปฏิรูปเพื่อรับมือวิกฤตการณ์นำ้าทะเล ขึ้นสูงและแผ่นดินทรุดพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร : สำานักการพิมพ์ สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2551). มาตรฐานการวัดตรวจวัดการเคลื่อนที่ตัวของอาคาร. พิมพ์ครั้งที่ 1.(200 เล่ม). กรุงเทพมหานคร : สำานักวิศวกรรมโครงสร้างและงานระบบ.

Tencata Geosynthetics. (2562). [ออนไลน์]. การทรุดตัวของฐานราก (Foundation Consolidation). [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562]. จาก https://www.tencategeo.asia

กรมทรัพยากรธรณี. (2551). รายงานผลการสำารวจระดับการทรุดตัวของพื้นดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร : กองยีออเดซี่และยีออฟิสิกส์ กรมแผนที่ทหาร.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำาหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.