ผลการใช้บทเรียนแบบปรับเหมาะเพื่อส่งเสริมการเรียนเรื่องวิทยาการ คำนวณกับชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน พรหมพิรามวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนแบบปรับเหมาะเพื่อส่งเสริมการเรียนเรื่องวิทยาการคำานวณกับชีวิตประจำาวัน สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
ผู้เรียนเมื่อเรียนด้วยบทเรียนแบบปรับเหมาะกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบปรับเหมาะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนพรหมพิราม
วิทยา สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 จำานวน 33 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) บทเรียน
แบบปรับเหมาะเพื่อส่งเสริมการเรียนเรื่องวิทยาการคำานวณกับชีวิตประจำาวัน สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนแบบปรับเหมาะ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนแบบปรับเหมาะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t-test แบบ One Sample t-test –ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบปรับเหมาะเพื่อส่งเสริมการเรียนเรื่องวิทยาการคำานวณกับชีวิตประจำาวัน สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.42,S.D. = 0.52) เมื่อนำาไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีค่าประสิทธิภาพที่ 80.67/80.50 สอดคล้องกับมาตรฐาน80/80 ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเรียนรู้โดยมีบทเรียนแบบปรับเหมาะเป็นสื่อประกอบการเรียน 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนแบบปรับเหมาะในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย ( = 4.79, S.D. = 0.47)
Article Details
References
สำานักงานนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2524 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำากัด.
ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์ และเกียรติศักดิ์พันธ์ลำาเจียก. (2561). การพัฒนาระบบการเรียนแบบปรับเหมาะบนเว็บตามแนวคิดการเรียนรอบรู้ที่เสริมศักยภาพการเรียนเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี
ทิศนา แขมมณี. (2551). ลีลาการเรียนรู้ – ลีลาการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย เส็งศรี. (2561). ระบบการสอนอัจฉริยะ.พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: นวมิตรการพิมพ์.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2544). รูปแบบการเรียนรู้.วารสารวิชาการ. 4. (ฉบับที่ 10 ตุลาคม), 6-14.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำากัด.
จินตวีร์ คล้ายสังข์ และ ประกอบ กรณีกิจ.(2559). การออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำากัด.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2561). [ออนไลน์]. วิทยาการคำานวณ คืออะไร? วิชาบังคับพื้นฐานใหม่ล่าสุดสำาหรับเด็ก พร้อมบทสัมภาษณ์จากผู้ก่อตั้ง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561]. จาก https://school.dek-d.com/blog/?p=656
กลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยี. รายงานสรุปผลการดำาเนินงานและข้อมูลสารสนเทศ ภาคเรียนที่ 1 ประจำาปีการศึกษา 2562. โรงเรียนพรหมพิรามวิทยา สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา. พิษณุโลก : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผดุง อารยะวิญญู. (2542). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ P.A. Art & Printing Co; Ltd.
Khan, B. H. (2005). Basic of design: Layout and typography for Beginners. New York: Delma, Thomson Learning Inc.
Xanthippi Tsortanidou and Charalampos Karagiannidis. (2017). Role and Value of Learning Theories in the Area of Adaptive Educational Hypermedia Systems Incorporating Learning Styles. International Journal of Emerging Technologies in Learning (iJET). 13(1), 93-108.
ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2553). ระบบการสอนแบบปรับเหมาะร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด.(วิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
Maulidia Tifani Alfin Nur Hardiana and Prof. Pujiati Suyata. (2018). The Effectiveness of VAK (Visual, Auditory, Kinesthetic) Model in Learning of Summary Writhing. IJRR Enternational
fournal of research and review. 5 (8)43 – 49.