ประเมินโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี CIPP คือ ด้านสภาวะแวดล้อมด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอน จำนวน 63 คน และนักเรียน นักศึกษา จำนวน 322 คน รวมทั้งหมด 385 คน เครื่องมือ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามความพึงพอใจของครู และนักเรียน นักศึกษา สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินมีดังนี้
ผลการประเมินโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง โดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง โดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักศึกษา, จำนวนงานวิจัยในชั้นเรียนของครูเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง มีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อครู และนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
Article Details
References
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). [ออนไลน์]. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. [สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562].จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ ewt_dl_link.php? nid=6422&bclid=IwAR3epDpRpjew4dPUARJeahc-9HBhWXHd4LfbIPJo1I8n3UXRJ7gsGRrDv3k.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). [ออนไลน์]. แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. [สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562]. จาก http://www.vec.go.th.
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง. (2562). [ออนไลน์]. รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2561. [สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2562]. จาก https://sites.google.com/a/ technicdon.ac.th/web/plan/quality/qdocument.self- AssessmentReport (SAR).
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ชุดฝึกปฏิบัติการเหนือตำรา: การทำวิจัยในชั้นเรียน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Krecie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Stufflebeam. D. L. & Shinkfield, A. J. (1990). Systematic Evaluation. Boston: Kluwer Nijhoff.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.
สร้อยเพชร ชารินทร์. (2556). การประเมินโครงการพัฒนาวินัยเด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านโค้กสำโรง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. วิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ศรีภาวรรณ ไสโสภา. (2562). [ออนไลน์]. รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานบุคลากร ปีการศึกษา 2556. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562]. จาก http://www.secondary42.obec.go.th/ present%20work/. document/ sripawan 9-9-57.pdf.
ภัทรสุดา ท้าวราช. (2557). การประเมินโครงการฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ยุวดี คำเงิน. (2561). การประเมินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิรญาณ์ โครตรชมภู. (2554). การประเมินโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานห้องสมุดเรือนจำ กรมราชทัณฑ์ วารสารรามคำแหง, ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 หน้าที่ 775–796.
ครองทรัพย์ เชิดชู. (2556). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์โรงเรียนบ้านพะไล. รายงานการประเมินโครงการ.