การบริหารจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง โดยใช้คู่มือการบริหารจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองโดยใช้คู่มือการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง 2) เพื่อจัดทำและทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง 3) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้การบริหารจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองโดยใช้คู่มือการบริหารจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ (ครู) ครูจ้างสอนของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง และครูสถานศึกษาอื่นในปี พ.ศ. 2559 – 2561 เฉลี่ยจำนวน 90 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง กำหนดตามรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นคู่มือการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของสถานศึกษา สื่อการเรียนรู้ประเภทนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา (คุรุสภา 2559) ลักษณะเป็นสื่อการศึกษา 2 ชนิด คือ 1) สื่อวัสดุ (Software) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์เล่มเอกสาร คู่มือการบริหารฯ และชุดการจัดการฯ และ 2) สื่ออุปกรณ์ (Hardware) เป็น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ข้อมูลของคู่มือฯ และชุดการจัดการฯ สำหรับใช้จัดเก็บนวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้ในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาการจัดกระทำองค์ประกอบขององค์ความรู้ที่มีสาระตรงตามประเด็นการประเมินของตัวบ่งชี้ในมาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2559 ที่สอดคล้องใน 4 คุณลักษณะค่านิยมอาชีวศึกษา ประกอบด้วย (1.1) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะคุณธรรม (1.2) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะคุณภาพ (1.3) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะความร่วมมือ (1.4) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะความเป็นมืออาชีพ 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง เป็นผลการวิเคราะห์การประมวลผลการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาที่เน้นสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองในการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ หนังสือ ก.ค.ศ. ที่ ว.21/2560 ที่มีผลสำเร็จใน 4 คุณลักษณะ ค่านิยมอาชีวศึกษา ประกอบด้วย (2.1) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะคุณธรรม (2.2) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะคุณภาพ (2.3) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะความร่วมมือ (2.4) ค่านิยมอาชีวศึกษาในลักษณะความเป็นมืออาชีพ
Article Details
References
กลุ่มติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.สรุปสาระสำคัญ รายงานผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
------------. (ม.ป.ป.). การขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษา ภายใต้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standard) FIX IT CENTER ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชมุชน THAILAND 4.0 .กรุงเทพฯ.
สำนักความร่วมมือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). การขับเคลื่อนภารกิจ ของอนุคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.). กรุงเทพฯ.
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง. (2553). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ.
------------. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ กลุ่มพัฒนาวิชาชีพ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงการพัฒนาวิชาชีพครูของคุรุสภาตามแนวคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)” และการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของเครือข่ายฯ ที่ได้รับเงินอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ ประจำปี 2559. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). ที่ ศธ. 0606 / 1116 เรื่อง จัดส่งประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2559. (เอกสาร 14 ก.พ. 2560).
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) คู่มือการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 - 2563) ด้านการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : มปพ.
สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ (หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560). กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (ม.ป.ป.). คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ.