การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

รินรดี พรามณี

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 02143401 ประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน 1 และรายวิชา 02143402 ประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน 2 ในภาคการเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า


1) นักศึกษามีผลการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ภาพรวม อยู่ในระดับดี ( gif.latex?x\bar{} =4.43) โดยด้านที่มีผลประเมินสูงที่สุด คือ ด้านความประพฤติ อยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?x\bar{}= 4.71) รองลงมา คือ ด้านเจตคติต่อวิชาชีพครู ( gif.latex?x\bar{}= 4.65) ลำดับที่สาม คือ ด้านบุคลิกภาพ ( gif.latex?x\bar{}= 4.52) สำหรับด้านที่มีผลการประเมินน้อยกว่าด้านอื่น ๆ คือ ด้านผลการจัดการเรียนรู้ ( gif.latex?x\bar{}= 4.28) ตามมาด้วย ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ( gif.latex?x\bar{}= 4.21) และด้านการจัดการเรียนรู้ ( gif.latex?x\bar{}= 4.19) ตามลำดับ


          2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?x\bar{}= 4.44) ส่วนใหญ่คะแนนประเมินไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งประเด็นที่นักศึกษาได้พัฒนาวิธีการสอน เทคนิคการสอนต่าง ๆ ได้รับการปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการประกอบวิชาชีพครู ได้พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงความรู้จากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง สามารถเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่ท้าทายและกระตุ้นความใฝ่รู้แก่ผู้เรียน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). [ออนไลน์]. ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561]. จาก http://www.educ.su.ac.th/images/curriculum/ข้อบังคับคุรุสภา_56.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักมาตรฐานวิชาชีพ (2555). [ออนไลน์]. สาระความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู. [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561]. จาก http://site.ksp.or.th/about.php?site=testingeva&SiteMenuID=35.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

เครือข่าย P 21. (2556) .[ออนไลน์]. ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 .[สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561]. จาก https://www.google.co.th/ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.pdf