รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี A Model of Enhancing Vocational Learners’ Competency in the 21st Century through the Result-based Management (RBM) at Saraburi Vocational College

Main Article Content

ไสว สีบูจันดี

บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี 2) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี 3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี ขั้นตอนการศึกษาวิจัยดังนี้ ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ครูผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและสถานประกอบการ ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 774 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สัมภาษณ์แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สร้างรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี ประกอบด้วย 1) การยกร่างรูปแบบ ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work shop) กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าสาขาวิชา คณะกรรมการวิทยาลัย (ตัวแทนชุมชนและสถานประกอบการ) รวม 23 คน 2) การตรวจสอบร่างรูปแบบรวมทั้งประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ทดลองใช้รูปแบบด้วยการดำเนินการตามโครงการจำนวน 4 โครงการภายใต้กลยุทธ์หลัก กำหนดการทดลองใช้ปีการศึกษา 2562 (ปีงบประมาณ 2562 – 2563) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี โดยผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน ชุมชนและสถานประกอบการ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถาม แบบรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า


                    สภาพการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.31, S.D=.289) และแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษา กำหนดวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 และควรมีกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21


                    รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) สมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่21 3) กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

                    การทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2562 (ปีงบประมาณ 2562 – 2563) โดยทดลองใช้ 4 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาด้านวิชาการและเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพทุกสาขาวิชา 2) โครงการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) โครงการยกระดับการจัดการศึกษาทวิภาคี และ 4) โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อโครงการที่ทดลองใช้รูปแบบ พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุด สำหรับความคิดเห็นต่อคู่มือการใช้รูปแบบ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก

                    ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี พบว่า ผู้เรียนมีทักษะด้านความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการประยุกต์ใช้ ทักษะชีวิตและการทำงานตรงตามศตวรรษที่ 21 โดยความพึงพอใจของชุมชนและสถานประกอบการต่อคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาหลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม สถานประกอบการและชุมชนมีความพึงพอใจในผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี ระดับมากที่สุด      ( =4.53, S.D=.147) ผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียนหลังการทดลองใช้รูปแบบการประเมินด้านทักษะความรู้ ด้านทักษะความคิด ด้านทักษะการประยุกต์ใช้ ด้านทักษะชีวิต และด้านทักษะการทำงานมีคะแนนเฉลี่ย ในปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 88.86 ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 94.08 ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 5.87

                    ผลการดำเนินงานตามรูปแบบ ส่งผลให้สถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้เรียนเป็นที่ยอมรับของสังคม ได้รับรางวัลและเกียรติบัตรระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับภาค

คำสำคัญ: การเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษา / การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บีนา กุตติพารามบิล. (2562). พัฒนาเยาวชนให้พร้อมรับมือกับอนาคตได้อย่างมั่นใจ. องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, ประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

เลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ,สำนักงาน. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20ปี (2560-2579) ฉบับย่อ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

พิเชษฐ์ ยังตรง. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานใน ศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ฤกษ์ชัย เพ็ชรคง. (2559). อาชีวศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563. จาก http://www.rtc.ac.th/www_km/03/0314/027-1-57.pdf.

ประชาคม จันทรชิต. (2561). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา การศึกษาในแต่ละระดับภาค. เอกสารอัดสำเนา.

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สํานักงาน. (2559). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ปััณญานััตย์์ วิิเศษสมวงศ์์. (2562). ส่่วนอาเซีียนสำนัักการประชาสััมพัันธ์์ต่่างประเทศจากบทความออนไลน์์. สืืบค้้นเมื่่ อ 26 ธัันวาคม 2563. จาก http://www.aseanthai.net/special-news detail.php?id=127.

พัชณีย์ คําหนัก. (2559). แนวคิดการสร้างกําลังแรงงานอาชีวะ ของรัฐบาลทหารภายใต้มาตรา 44. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประชาไท.

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาขน), สำนักงาน. (2558). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(2554-2558) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579). พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด, กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญและวรางคณา ทองนพคุณ. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต. ภูเก็ต : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

วิภาดา ศรีจอมขวัญ. (2556). รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรถนะครูอาชีวศึกษาไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, ปีที่ 3,ฉบับที่ 3, กันยายน -ธันวาคม.

อติเทพ ไข่เพชรและอร่ามศรี อาภาอดุล.(2563). การสร้างรูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูวิชาชีพในการจัดการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม- ธันวาคม 2563)

สิริมนต์ นฤมลสิริ. (2557). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 16 (ฉบับที่ 2) เมษายน - มิถุนายน 2557.