The การพัฒนาระบบการดูแลผู้เรียนในสถานศึกษาด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วม วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม The Development of Student Care System Using the Participatory Management at Rajasitharam Technical College
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการดูแลผู้เรียนในสถานศึกษาด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วม วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาระบบการดูแลผู้เรียนในสถานศึกษาด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วม วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม และเพื่อพัฒนาและหาความเหมาะสมของคู่มือระบบการดูแลผู้เรียนในสถานศึกษาด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วม วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู สถานประกอบการ ตำรวจ ชุมชน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า นักเรียน นักศึกษากลุ่มเสี่ยง โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 19 คน ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นเรียงความตามเนื้อหา แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ด้านสังคมและสภาพแวดล้อม, ด้านพฤติกรรมของวัยรุ่น, ด้านสถานภาพครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา แบบมีส่วนร่วม จากความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครู สถานประกอบการ ตำรวจ ชุมชน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า นักเรียน นักศึกษากลุ่มเสี่ยง โดยเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับ มาก(= 4.07) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสังคมและสภาพแวดล้อม (= 4.35) ด้านพฤติกรรมของวัยรุ่น (= 4.13) ด้านสถานภาพครอบครัว (= 3.72) ตามลำดับ ส่วนการพัฒนาแนวทางป้องกันการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา พบว่า เมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาทแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ทันทีเพื่อระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที นอกจากนั้นสถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายตาสับปะรดเฝ้าระวังในจุดเสี่ยงต่าง ๆ ที่กลุ่มนักเรียน นักศึกษารวมกลุ่มกัน และหลังเกิดเหตุทะเลาะวาทควรมีการเจรจาระหว่างสถาบันคู่อริเพื่อลดปัญหาการทะเลาะวิวาท หาผู้รับผิดชอบก่อนเหตุการณ์จะลุกลามต่อไป นอกจากนั้นสถานศึกษาควรจัดทำแผนเฝ้าระวังเหตุและปฏิทินการดำเนินงาน และวิธีการป้องกันการทะเลาะวิวาท ของแต่ละสถานศึกษาให้ชัดเจน ประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าระวังหน้าประตูสถานศึกษาในช่วงเช้าและช่วงเลิกเรียน จัดประชุมภาคีเครือข่ายร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นประจำทุกเดือน การบังคับใช้กฎหมาย ประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบผู้กระทำผิดให้ดำเนินการตามกฎหมายขั้นสูงสุด สร้างความเข้าใจเรื่องมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา โดยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และร่วมกันสอดส่องดูแล บุตรหลาน โดยเฉพาะเวลาเดินทาง ไป-กลับ เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สำรวจ เฝ้าระวัง และติดตาม ดูแลพฤติกรรมนักเรียน นักศึกษา ที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและทำแฟ้มประวัตินักเรียนนักศึกษากลุ่มเสี่ยง ให้ครูที่ปรึกษาออกตรวจเยี่ยมบ้าน นักเรียน นักศึกษา อย่างทั่วถึง และได้จัดทำคู่มือระบบดูแลผู้เรียนในสถานศึกษา ด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วม วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม ซึ่งมีผลการหาความเหมาะสมของคู่มืออยู่ในระดับ มากที่สุด เพื่อจะได้นำคู่มือระบบดูแลผู้เรียนในสถานศึกษาด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วม วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธารามนี้ ไปใช้ดูแลผู้เรียนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551. (2551,มีนาคม 5). ราชกิจจานุเบกษา,125 (43 ก), 1-24.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). เส้นทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
เสถียร อุตวัต. (2560). ปัญหาการทะเลาะวิวาทนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563]. จาก https://www.gotoknow.org/ posts/566591.
สุเทพ ชิตยะวงศ์. (2560). ยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาทนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่15 มีนาคม 2564]. จาก http://www.vec.go.th/A7/tabid/103/ArticleId/15849 /language/enUS/Default.aspx.
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
อุดม บุตตะ. (2558). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาเขตบางกะปิกรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ.
ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2554). ปัจจัยด้านครอบครัวที่นำไปสู่การใช้หรือไม่ใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นในเขตจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2547). รายงานผลการปฏิบัติงานออกตรวจดูแลป้องกันการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.