รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการบริการวิชาชีพ (SBL) ผ่านเทคโนโลยีนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร Learning Platform through Services Based Learning (SBL) with Innovative technology and inventions of students in Electrical technology, Institute of Vocational Education Bangkok

Main Article Content

Thanakarn Khumphai

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการบริการวิชาชีพ (SBL) ผ่านเทคโนโลยีนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาโครงการ (Project) ด้วยรูปแบบการบริการวิชาชีพ และเพื่อศึกษาผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาโครงการ (Project) ด้วยรูปแบบการบริการวิชาชีพ  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษก หนองจอก สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน


     ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการบริการวิชาชีพ (SBL) ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์  โดยใช้หลักการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มาประยุกต์ใช้งาน ซึ่งเป็นรูปแบบฯ ที่ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1. การทำความเข้าใจ (Empathize)  2. การนิยาม (Define)  3. การสร้างสรรค์ (Ideate)  4. การจำลอง (Prototype)  5. การทดสอบ (Test)  6. ถอดบทเรียน (Reflection) โดยมีโครงงานที่สามารถนำไปสู่การใช้งานจริงและส่งมอบให้กับชุมชนทั้งสิ้น 15 ผลงาน ซึ่งมีการประเมินผลในส่วนของผลงานอยู่ในระดับดีเยี่ยมทุกชิ้น และผลความพึงพอใจของผู้เรียนในรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). [ออนไลน์]. ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน2565]. จาก https://www.sasimasuk.com.

กัลยา โสภณพนิช. (2562). [ออนไลน์]. รมช.ศธ.“คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช” มอบนโยบาย สทศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน2565]. จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=46548.

ธนุ วงษ์จินดา. (2565). [ออนไลน์]. สัมภาษณ์พิเศษ : ธนุ วงษ์จินดา ข้ามห้วยนั่ง เลขาธิการ กอศ. ‘สบายๆ ไม่หนักใจปัญหาร้อยแปด..’. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2565]. จาก https://www. matichon.co.th/education/news_3676313

ธนาคาร คุ้มภัยและคณะ. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1. 33–41.

สุทธิกร แก้วทอง และกุลรภัส เทียมทิพร. (2561). [ออนไลน์]. การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาร่วมกับรายวิชาหลักการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธี การเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2565]. จาก http://158.108.80.26/kuojs-3.0.2/index.php/jehds/article/view/1072.

วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก. (2565). [ออนไลน์]. วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ.[สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2565]. จาก http://kme.knice.ac.th

นิรุตต์ บุตรแสนลี. (2565).ขับเคลื่อนงานเชิงรุก ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ วิจัยก้าวล้ำ นวัตกรรมสร้างอนาคต.วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1.ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม-มิถุนายน

HR NOTE Thailand. (2562). [ออนไลน์]. กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เครื่องมือสำคัญของการสร้างความสำเร็จให้องค์กร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน2565]. จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190702-design-thinking

อัญชลี ทองเอม. (2563). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 8. ฉบับที่ 3. กันยายน-ธันวาคม 2561. 185–199.

รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ. (2563). [ออนไลน์]. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน ในรายวิชา สต423 สถิติศาสตร์ไม่อิงพารามิเตอร์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2565]. จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=Mjc5MTE4

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑.-- กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2555.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). [ออนไลน์]. การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2565]. จาก https://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141