สาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา Behavior, Causes, and Factors Affecting Breakfast Behavior of Students at Triam Udom Suksa School

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา
ศศิธร ศรีทองเพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  (3) ศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง 13-24 ตุลาคม 2565 ทำให้ได้คำตอบจากกลุ่มตัวอย่าง 533 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า (t-Test)  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นักเรียนดื่มน้ำสะอาดในมื้อเช้า อยู่ที่ระดับมากที่สุด รับประทานอาหารประเภทข้าว/แป้ง/ขนมปัง อยู่ที่ระดับมาก นักเรียนรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เป็นส่วนประกอบหลักในมื้ออาหารเช้า อยู่ที่ระดับปานกลาง และรับประทานขนมกรุบกรอบเป็นมื้อเช้า อยู่ในระดับน้อยที่สุด ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตาม เพศ ระดับชั้น อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองต่อวันที่ต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุต่างกันมีพฤติกรรมบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ และสาเหตุของพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พบว่า นักเรียนไม่รับประทานอาหารเช้าในบางวันหรือทุกวัน มีสาเหตุมาจากเดินทางมาถึงโรงเรียนช้ารับประทานอาหารเช้าไม่ทัน และมีเหตุผลในการเลือกบริโภคอาหารเช้าที่ สะดวก รวดเร็ว นักเรียนนิยมบริโภคน้ำในมื้อเช้า และบริโภคอาหารเช้าประเภท นม ชา กาแฟ ขนมปัง บริโภคอาหารเช้ามีรสจืด นักเรียนส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้ออาหารเช้าจากร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-Eleven และเป็นภาชนะบรรจุอาหารเช้าที่มีผลกับการตัดสินใจเลือกบริโภค คืออาหารที่มีลักษณะกล่องที่มีฝาปิดสนิทเพื่อสะดวกต่อการซื้อไปรับประทานระหว่างเดินทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อณติมา หมีสมุทร์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชินีบน. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

เสาวพร เมืองแก้ว./(พฤษภาคม 2542)./อาหารเช้า...สำคัญไฉน./นิตยสารแม่และ เด็ก /ปีที่ 22 ฉบับที่ 327.

ศวิตา ศรีสวัสดิ์และสุวลี โล่วิรกรณ์. (2562). การรับรู้และการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 12 ฉบับที่ 4. 88-96.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3d Ed. New York:Harper and Row Publications.

ริสา ดีจุฑามณี อาชา มูลรัตนาและสุธาทิพย์ เอ็มเปรมศิลาภา. (2565). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. Thai Journal of Public Health Vol. 52 No. 1. 31-43

ณัฐพร สุแสงรัตน์. 2556. พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชุดา ศรีนิ่มนวล. ความรู้การบริโภคอาหารเช้าและภาวะสุขภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวรรณรัตน์ สุบรรณและคณะ. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ปีที่ 3 ครั้ง1. 577-584.

ปิยนุช ไกรเทพ. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). [ออนไลน์]. การสํารวจพฤติกรรมการบริโภคอาหาร [สืบค้นเมื่อวันที่9กันยายน 2565] จากhttp://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/Food_consumption_behavior_of_the_population/2560/รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotionin nursing practice. 6th ed. New York: Pearson; 2011.

อรวรรณ มุงวงษา, กุลวดี เข่งวา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) จังหวัดเพชรบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1.

จิราภรณ์ เรืองยิ่ง, สุจิตรา จรจิตร, และกานดา จันทร์แย้ม. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา : การสังเคราะห์องค์ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร. วารสารศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1. 245-256.