ผลการใช้ชุดกิจกรรม Unplugged Coding ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดท่ามะปราง) The Effects of an Unplugged Coding Activity Package on Computing Science Achievement in the Topic of Basic Programming for Grade 1 Students at Tessaban 3 School (Watthamaprang)

Main Article Content

Kingkaew Intachot

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม Unplugged Coding เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรม Unplugged Coding เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรม Unplugged Coding ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรม Unplugged Coding เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.13/83.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม Unplugged Coding ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.61)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (สสวท.). (2560). [ออนไลน์]. คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. [สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566] จาก https://www.scimath.org/ebook-technology/item/8376-2560-2551

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2562). [ออนไลน์]. เกมการเรียนรู้แบบ Unplug. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/10631-unplug

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิควิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523) . นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการสอน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). “การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน”. เอกสารการสอนชุดวิชา

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศึกษานิเทศก์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. (ผู้บรรยาย), (15-17 สิงหาคม 2561). รู้จักวิทยาการคำนวณในการนิเทศการจัดการเรียนการสอน Coding และ Computing Science. (หน้า 1-15). กรุงเทพฯ. ศึกษานิเทศก์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.

สุวิมล นิลพันธ์. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สาวิตรี พิพิธกุล และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยการเรียนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนในระดับประถมต้น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.