แนวทางจัดทำต้นฉบับบทความ

         ผู้เขียนที่จะส่งบทความมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ โปรดใช้รูปแบบการเขียนและการอ้างอิงดังนี้

  1. เป็นบทความวิชาการหรือบทความวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสาขานิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชนและสาขาที่เกี่ยวข้อง
  2. เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาก่อนส่งบทความมายังกองบรรณาธิการ
  3. ต้องระบุชื่อบทความทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
  4. ต้องระบุชื่อ-นามสกุลจริง และต้นสังกัดของผู้เขียนทั้งภาษาไทยและอังกฤษในหน้าแรกของบทความให้ชัดเจนพร้อมต้องระบุ Email ที่สามารถติดต่อได้ของผู้เขียนไว้ใต้ชื่อภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง

ฉลองรัฐ  เฌอมาลย์ชลมารค. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.                                                 
Chalongrat Chermanchonlamark. College of Communication Arts, Rangsit University.           
Email : c123.c@rsu.ac.th

  1. ต้นฉบับบทความต้องมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ขนาดตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 
  2. บทความที่เสนอพิมพ์ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  3. บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวอย่างละไม่เกิน 3,000 คำ
  4. บทความวิจัยและบทความวิชาการต้องมีคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ คำสำคัญไม่ควรมีเกิน 5 คำ
  5. การอ้างอิง ใช้วิธีการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา โดยวงเล็บเฉพาะชื่อ – สกุลผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และหน้าของเอกสารที่อ้างถึงต่อท้ายข้อความที่ต้องการอ้าง ซึ่งอาจเรียกว่าการอ้างอิงแบบนาม-ปี(author-date) ตามรูปแบบ APA มีลักษณะดังนี้ (ชื่อ-สกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้า)
  6. การกำหนดหัวข้อในบทความ หัวข้อสำคัญหรือหัวข้อหลักให้พิมพ์ด้วยอักษรขนาดตัวหนาโดยพิมพ์ให้ชิดขอบด้านซ้าย ส่วนหัวข้อลำดับถัดมาสามารถกำหนดได้ตามเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงความสะดวกในการอ่านและการลำดับความสำคัญของเนื้อหา
  7. รูปแบบบรรณานุกรม ให้ผู้ส่งบทความจัดทำรูปแบบบรรณานุกรมแบบ APA เช่น

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ/เอกสาร. สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์.

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความในหนังสือ. ใน ผู้แต่งหนังสือ/บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. สถานที่

พิมพ์ : โรงพิมพ์. หน้าที่พิมพ์

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความในวารสาร. ชื่อวารสาร ปีที่, (ฉบับที่) : หน้าที่พิมพ์.

  1. การเรียงรูปแบบบรรณานุกรม ให้เรียงบรรณานุกรมภาษาไทยขึ้นก่อน เมื่อหมดรายการบรรณานุกรมภาษาไทยแล้ว จึงตามด้วยรายการภาษาอังกฤษ
  2. บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน

 

ขั้นตอนการส่งบทความ

     1.ผู้เขียนเตรียมบทความต้นฉบับ 2 ไฟล์

        1.1 ไฟล์ WORD

        1.2 ไฟล์ PDF

    2.ผู้เขียนส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ THAI JO

    3.กองบรรณาธิการได้รับบทความและดำเนินการดังนี้

       3.1 ส่งบทความให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านพิจารณา (Peer Review)

       3.2 ส่งผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญให้ผู้เขียนปรับปรุงบทความ

       3.3 หากตรวจพบมีการคัดลอกหรือบทความขาดมาตรฐานจะปฏิเสธบทความ

    4.บทความที่ผ่านการพิจารณา หรือได้ดำเนินการปรับแก้ไขตามระยะเวลาที่กำหนดจะเข้าสู่กระบวนการจัดทำต้นฉบับ

    5.บทความได้รับการเผยแพร่ผ่านวารสาร ในระบบ THAI JO และได้รับการตีพิมพ์ ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด