จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์
หน้าที่และบทบาทของผู้เชี่ยวชาญประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่จะประเมิน หากพบว่าตนไม่เชี่ยวชาญหรือขาดความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ประเมินบทความดังกล่าว ให้ปฏิเสธการเป็นผู้ประเมิน
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินโดยปราศจากอคติ ให้ข้อเสนอแนะตรงตามข้อเท็จจริงอันเหมาะสม ผู้ประเมินต้องไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการตัดสินบทความ แต่ควรพิจารณาบทความจากคุณค่าและประโยชน์ของบทความที่มีต่อผู้อ่าน
- ผู้ประเมินต้องให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อผู้เขียนในการนำไปปรับปรุงแก้ไขบทความตามมาตรฐานทางวิชาการ
- ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ประเมินแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องก่อนการตีพิมพ์หรือก่อนการเผยแพร่บทความอย่างเป็นทางการ
- ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ หากพบว่าอาจมีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องกันควรปฏิเสธการประเมินบทความ
หน้าที่และบทบาทของผู้เขียน
- ผู้เขียนต้องจัดทำบทความวิชาการหรือบทความวิจัยตามรูปแบบของวารสาร
- ผู้เขียนต้องมีความเข้าใจในมาตรฐานของการเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัยอย่างถ่องแท้ สามารถสร้างงานวิชาการและงานวิจัยที่มีมาตรฐาน
- ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น ไม่ละเมิดผลงานของผู้เขียนท่านอื่น เมื่อมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้จะต้องมีการอ้างอิงตามมาตรฐานทางวิชาการหรือตามแนวทางที่ กองบรรณาธิการกำหนดไว้
- ผู้เขียนเจ้าของผลงานที่ระบุชื่อไว้ในบทความ จะต้องมีส่วนร่วมในการเขียน การค้นคว้า หรือการจัดทำรายงานวิจัยอย่างแท้จริง
- ผู้เขียนต้องดำเนินการปรับปรุง แก้ไขบทความตามข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) หรือตามที่กองบรรณาธิการวารสารเสนอแนะ
หน้าที่และบทบาทของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการต้องจัดทำวารสารให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ การดำเนินงานต้องเป็นไปตามขั้นตอนของวารสาร โดยให้ความยุติธรรมกับทั้งผู้เขียนและผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างมีคุณภาพ โดยคาดหวังให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและแวดวงวิชาการเป็นสำคัญ
- บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความทางวิชาการและบทความวิจัยอย่างถี่ถ้วนว่ามีการอ้างอิงตามมาตรฐาน และมีเนื้อหาสอดคล้องกับทิศทางของวารสาร
- บรรณาธิการต้องพยายามเก็บรักษาข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินบทความไว้เป็นความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง
- บรรณาธิการต้องส่งเสริมความถูกต้องในผลงานวิชาการ เมื่อทราบว่าเกิดความไม่ถูกต้องกับบทความที่ตีพิมพ์แล้ว หรือพบว่ามีข้อความที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นบทความที่บิดเบือนความจริง บรรณาธิการต้องดำเนินการแก้ไขให้เกิดความถูกต้อง
- บรรณาธิการต้องส่งเสริมความสุจริต หากพบการประพฤติไม่สุจริต บรรณาธิการต้องเพิกถอนบทความ และชี้แจงแก่ผู้อ่านให้ทราบผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจน