กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ

ผู้แต่ง

  • นันทรัตน์ อรรถยากร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์, การสื่อสารแบรนด์

บทคัดย่อ

         งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์, เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารแบรนด์ รวมถึงการนำเสนอรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ โดยผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ธุรกิจ รวมเป็น 15 ธุรกิจ คือ ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม, ธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว และธุรกิจด้านการท่องเที่ยว

         ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ มีการวางกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ คือการวางจุดยืนของแบรนด์ให้แตกต่างจากคู่แข่งด้วยการสร้างความพึงพอใจทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ ต้องมีบุคลิกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ดูสง่างาม เพื่อให้สินค้าและบริการมีสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงต้องมีบุคลิกแบรนด์ที่เป็นมิตรกับทุกคน ส่วนอัตลักษณ์แบรนด์ จะต้องได้คุณภาพและต้องมอบประสบการณ์ที่มีคุณค่าและความประทับใจแก่ลูกค้า รวมถึงทำให้สินค้าและบริการของตนเองเข้าไปข้องเกี่ยวกับธรรมชาติในทางที่ดี ซึ่งจะส่งผลทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีจากลูกค้ามากขึ้น

         เครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ใช้มากที่สุด คือบุคคล เช่น ผู้บริหารหรือพนักงาน นอกจากนี้ยังมีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างแฟนเพจเฟซบุ๊ก (Fanpage Facebook) และไลน์แอด (Line@) เป็นตัวขับเคลื่อนการสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์และเป็นเครื่องมือทางการตลาด ที่จะคอยกระตุ้นให้ลูกค้าทั้งเก่าและใหม่จดจำและซื้อซ้ำต่อเนื่อง ส่วนสื่อดั้งเดิมอย่างสื่อมวลชน รายการโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทำให้ธุรกิจเป็นที่จดจำได้ในวงกว้างและเกิดยอดขายที่เติบโตต่อเนื่อง

References

กุณฑลี รื่นรมย์, (2556), แบรนด์องค์กร & การประเมินค่าแบรนด์องค์กร.กรุงเทพฯ : ไซเบอร์พริ้นท์

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์ 4.0. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง

พรวลัย ประเสริฐวุฒิวัฒนา. (2559). รูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อการสร้างแบรนด์ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษากลุ่มเกษตรอินทรีย์ไร่รื่นรมย์. สาขาวิชาการการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, กรุงเทพฯ : นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิเลิศ ภูริวัชร. (2555). สร้างแบรนด์จากประสบการณ์ของลูกค้า. กรุงเทพฯ:คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริกุล เลากัยกุล. (2551). สร้างแบรนด์อย่างพอเพียง. กรุงเทพฯ : แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป. หน้า 208.

สุจิตรา แก้วสีนวล. (2560), “การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์”. วารสารงานจัดการความรู้และบริการสังคม, 20,(40) พฤษภาคม-สิงหาคม

อรรถการ สัตยพาณิชย์ (2558). “50 ปี ส่วนประสมทางการตลาด สู่การเติบโตของศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร จากมุมมองนักวิชาการและนักสื่อสารการตลาด”. วารสารวิชาการนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 23,(42) พฤษภาคม-สิงหาคม.

วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2555). Branding and Brand Development. 15 กันยายน 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.amexteam.com/knowlege

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 15 กันยายน 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.sme.go.th/upload/mod_download.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01