การสื่อสารเพื่อนำเสนอตัวตนและพัฒนาความสัมพันธ์ ผ่านทางแอปพลิเคชันทินเดอร์

ผู้แต่ง

  • คุ้มเกล้า ดิษฐศิริ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การนำเสนอตัวตน

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารเพื่อนำเสนอตัวตนและพัฒนาความสัมพันธ์ ผ่านทางแอปพลิเคชันทินเดอร์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อ นำเสนอตัวตนของผู้ใช้ทินเดอร์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของผู้ใช้ทินเดอร์ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นผู้ใช้ทินเดอร์ชาวไทย ชายและหญิง อายุระหว่าง 25 - 35 ปี เป็นช่วงอายุของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (มิลเลนเนียลส์) ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสนใจในเพศตรงข้าม และมีประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันทินเดอร์ ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้ใช้ทินเดอร์ชาวไทย เพศชายและหญิง อายุระหว่าง 25 - 35 ปี จำนวน 100 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งใช้การเลือกแหล่งข้อมูลตามสะดวก และอาศัยเครือข่าย โดยทำการติดต่อผู้ที่สะดวกและยินยอมให้สัมภาษณ์ ประกอบด้วยเพศชาย 4 คน เพศหญิง 4 คน และคู่รักที่พบกันผ่านแอปพลิเคชันทินเดอร์ จำนวน 1 คู่ รวมจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 10 คน การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อสามารถเข้าศึกษา สังเกตถึงวิธีการใช้งาน ลูกเล่นต่างๆ ภายในแอปพลิเคชันทินเดอร์ รวมถึงเพื่อทดลองพูดคุยกับผู้ใช้ทินเดอร์ท่านอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก การสื่อสารต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดการสื่อสารนำเสนอตัวตนและพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีภายในชุมชนเสมือนจริงทินเดอร์และเก็บเกี่ยวข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยนี้ ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้ทินเดอร์เพศชายและเพศหญิง มีการสื่อสารนำเสนอตัวตนโดยถ่ายทอดผ่านการใช้สัญญะ จนเป็นอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งการวิจัยสามารถสรุปได้ถึงรูปแบบและเนื้อหาที่ผู้ใช้ทินเดอร์นิยมใช้ในการสื่อสารนำเสนอตัวตนได้ 2) ผู้ใช้ทินเดอร์มีการพัฒนาความสัมพันธ์ด้วยปัจจัยซึ่งส่งเสริมการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยพบว่าเพศชายและเพศหญิงที่แตกต่างกัน ควบคู่ไปกับพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สลับกันมีบทบาทและอำนาจ ซึ่งเกิดจุดเปลี่ยนในความสัมพันธ์ ที่ส่งผลให้เกิดขั้นของความสัมพันธ์ขึ้น

References

กิติมา วงษ์รักษ์. (2556). ความสัมพันธ์แบบโรแมนติกในที่ทำงานและบรรยากาศองค์การที่พยากรณ์ความสุขในการทำงานของพนักงานในธุรกิจอุปกรณ์สำนักงาน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

กฤษณ์ ทองเลิศ. (2545). การผสานรูปแบบการสื่อความหมายและจินตสาระของผู้รับสารเป้าหมายที่มีต่องานภาพถ่ายกับลายลักษณ์อักษรในงานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โกสินทร์ รัตนคร. (2549). การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารของการเลือกคู่ครอง. คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เยาวภา อินทระชัย. (2549). การสื่อสารเพื่อการเริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันคู่รักของวัยรุ่นไทย. คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณีรพัฒน์ แผ่นทอง. (2548). ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลและความรักในที่ทำงาน ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ศิริชัย ศิริกายะ และกาญจนา แก้วเทพ (2531). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สีตลา ชาญวิเศษ. (2557). บทบาทเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์แบบโรแมนติก. วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรัตน์ ตรีสุกล (2548). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน, (2556) บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ sensortower (2562) Top Grossing Dating Apps Worldwide for Q1 2019. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม,2562, จาก www.sensortower.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01