การสื่อสารภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เก่ียวกับพิธีกรรมและวัตถุมงคล ในพื้นท่ีจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธนภัทร เต็มรัตนะกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การสื่อสารความรู้, องค์ความรู้

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับพิธีกรรมและวัตถุมงคลในพื้นที่จังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารภูมิปัญญาท้องถิ่นในพิธีกรรมและวัตถุมงคลของจังหวัดสงขลา ผู้วิจัยเลือกคาบสมทุรสทิงพระเป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากมีความเหมาะสมทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ความเป็นมา และความเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อในศาสนาพุทธของจังหวัดสงขลา โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เกจิอาจารย์ผู้มีความรู้ด้านพิธีกรรมและการปลุกเสกวัตถุมงคล การสังเกตการณ์พิธีกรรม การวิเคราะห์วัตถุมงคล และการแจกแบบสอบถามเชิงสำรวจแก่ผู้บูชาวัตถุมงคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารแบบ SMCR และแนวคิดเรื่องการสื่อสารความรู้ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่อยู่ในพิธีกรรมและวัตถุมงคล และศึกษาว่ากระบวนการถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อดังกล่าวนั้นมีคุณลักษณะเช่นใด

       ผลการศึกษา พบว่า ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับพิธีกรรมและวัตถุมงคลในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป็นองค์ความรู้ทางศาสนาที่แสดงออกผ่านทางพุทธคุณด้านที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของบริบท ได้แก่ ด้านเมตตามหานิยมเพื่อตอบสนองการดำรงชีพด้วยการค้าขาย ด้านโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม และด้านแคล้วคลาดคงกระพันเพื่อตอบสนองต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต โดยมีการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องลงไปในวัตถุมงคล ซึ่งแสดงให้เห็นมิติของการบูรณาการทางความรู้ ได้แก่ ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ การคมนาคม การด้วยประกอบอาชีพ การใช้ภาษา การใช้ประสบการณ์ และการใช้ตำนาน ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นกุศโลบายและปริศนาธรรมที่ผู้บูชาต้องใช้ศรัทธาปัญญาในการทำความเข้าใจและนำความรู้ออกมาใช้ ในส่วนของกระบวนการสื่อสารภูมิปัญญา พบว่า ผู้สื่อความรู้ คือ พระเกจิอาจารย์ ที่ได้ใช้ความรู้แบบซ่อนเร้นเรื่องการใช้กระแสจิต การเข้าฌาน การเพ่งกสิณ และการบริกรรมคาถาอาคมในการปลุกเสกและให้ความหมายแก่พิธีกรรมและวัตถุมงคล ในขณะที่ผู้รับสาร คือ ผู้บูชา ที่จะต้องมีความศรัทธาในพุทธคุณและมีความรู้ในการปรุงจิตของตนเองด้วยการบริกรรมคาถาและการบูชาตามคำแนะนำจึงจะเชื่อมโยงสู่พุทธคุณและดึงพลังออกมาใช้ได้ การศึกษาเรื่องนี้ช่วยให้มองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขของบริบทพื้นที่กับองค์ความรู้ที่นำมาสื่อสาร เพื่อเข้าใจกระบวนการสื่อสารความรู้ผ่านพิธีกรรมและวัตถุมงคลภายใต้เงื่อนไขที่เป็นเอกลักษณ์ของคาบสมุทรสทิงพระ

References

จารุวรรณ ธรรมวัติ. (2543). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

จำรัส เพชรทับ. (2545). ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลังของชาวบ้านอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มณนิภา ชุติบตุร และนิคมชมพูหลง. (2538). แนวทางการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.

รัชตาพรบุญกอง. (2553). กระแสวัตถุมงคลจตุคามรามเทพกับภาพสะท้อนของสังคมไทย (พ.ศ.2530 พ.ศ. 2550). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2561). เข้าถึงได้จาก http://ich.culture.go.th/ วันเดือนปีที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2561.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2542). “ภูมิปัญญาชุมชน ยาชุดวิเศษในการพัฒนา” วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 36, ฉบับที่ 9 (มิ.ย. 2542) : หน้า 2-4.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ. (2555). “ความเชื่อและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องราง ของขลังและวัตถุมงคลของชาวไทย” วารสารสงขลานครินทร์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2555) : หน้า 57-92.

สุกัญญา สุจฉายา. (2556). “ทุนวัฒนธรรมกับวัตถุมงคลในปัจจุบัน” วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ปีที่ 42 (2) กรกฎาคม – ธันวาคม.

Eppler, M. (2006). “The Concept of Knowledge Communication and Its Relevance to Management” USI Research Note, Switzerland: University of Lugano (USI).

Gayk, S. and Malo, R. (2014). “The Sacred Object” Journal of Medieval and Early Modern Studies. 44: 457-467.

Isaacs, W. (1997). “Dialogue and the art of thinking together” A pioneering approach to communicating in business and in life, New York: Doubleday.

Polanyi, Michael. (1966). The Tacit Dimension. USA: University of Chicago Press.

Ruggles, R., and Holtshouse, D. (1999). The knowledge advantage. New Hampshire:Capstone Publishers.

Uriarte, F, Jr. (2008). Introduction to Knowledge Management. Jakarta: ASEAN Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01