การศึกษาบุคลิกภาพและอัตลักษณ์องค์กรเพื่อพัฒนาธุรกิจอาหารโฮมเมด

ผู้แต่ง

  • กนกภรณ์ โกศลวรวัฒนกุล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

บุคลิกภาพ, อัตลักษณ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุคลิกภาพอาหารโฮมเมดผ่านรูปแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างอัตลักษณ์องค์กรแก่ธุรกิจอาหารโฮมเมดโดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็นขั้นตอนดังนี้คือเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารรวบรวมแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มลูกค้าของธุรกิจอาหารโฮมเมดจากนั้นจึงทำการออกแบบตามผลจากองค์ความรู้ที่ได้มาและประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง

        ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบเรขศิลป์ผ่านอัตลักษณ์องค์กรธุรกิจอาหารโฮมเมดสามารถสื่อบุคลิกภาพและสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นตัวสื่อสารแก่ผู้บริโภคให้รับรู้เกี่ยวกับธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและชัดเจนและงานวิจัยสามารถช่วยสร้างความเข้าใจแก่นักออกแบบและผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีรายใหม่ถึงหลักการสร้างอัตลักษณ์องค์กรที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของธุรกิจอาหารโฮมเมดและการพัฒนาอัตลักษณ์องค์กรในครั้งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจอาหารโฮมเมดเจริญเติบโตในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีบทบาทในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้

References

กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ. (2555). ฉันก็รวยได้. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

นิตยา มานะโกศล. (2559). “กระแสโฮมเมด.” วารสารไทยเทคโนโลยี 9. 1 (มกราคม-มิถุนายน): 15-16.

นิภาพร รัชตพัฒนากุล. (2560). จากเบนโตะถึงปิ่นโตของไทย. วารสารศิลปวัฒนธรรม 19. 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 25-26.

นลินทิดา. (2560). “แม่บ้านกรีกยุคใหม่ ขายอาหารโฮมเมดผ่านโลกออนไลน์.” วารสารศิริราชนิมิต 23, 3 (ตุลาคม-ธันวาคม) : 10-11.

ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. นนทบุรี: ไอดีซี.

เปี่ยมจิต คหกิจโกศล. (2556). “มติชนอคาเด จับกระแสโฮมเมด.” วารสารมติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน 12. 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 29-31.

พีระพล ชัชวาลย์. (2548). การศึกษาแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์ของสายการบินระดับชาติ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์, บัณฑิตวิทยาลัยศิลปากร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

วนิดา มัสรานนท์. (2560). ชี้ช่องรวยด้วยธุรกิจเบเกอรี่โฮมเมด. กรุงเทพฯ: พีเพิลมีเดีย บุ๊คส์.

สุกฤตา หิรัณยชวลิต. (2559). รูปทรงบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สปาไทย ที่เชื่อมโยงกับบุลิกภาพของคนไทย. BU Academic Review 14. 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) : 33-49.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2559). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: คอร์ ฟังชั่น.

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ : วิสคอม เซ็นเตอร์

Aaker, D. A. (1996). Building Strong Brand. New York: Free Press.

De Neve. (1992). R. The Designer’s Guide to Creating Corporate I.D. Systems. Cincinnati: F&W Publiccations Inc.

Marie, H. (2003). Fabulous Asian Homestyle Recipe. New York: Periplus Editions.

Kobayashi, S. (1987). A Book of colors. Tokyo: Kodansha International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01