มายาคติและความหมายเรื่องพืชกัญชาในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • สานิตย์ แสงขาม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

มายาคติ, ความหมาย, กัญชา, สิทธิตามธรรมชาติ, วาทกรรม

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง มายาคติและความหมายเรื่องพืชกัญชาในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มายาคติของคนในสังคมไทยที่มีต่อกัญชา 2) การใช้ประโยชน์จากกัญชา และความหมายของคำว่า พืชกัญชาในสังคมไทย 3) สิทธิในการเข้าถึงกัญชา เพื่อใช้เป็นยารักษาโรคด้วยตนเอง หรือ สิทธิ ตามธรรมชาติ และ 4) การต่อสู้ เรียกร้อง และการเคลื่อนไหวทางสังคมในมิติด้านกัญชา แนวคิดทฤษฏีที่ใช้เป็นแนวทางศึกษา ประกอบด้วย ทฤษฎีมายาคติ แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยา ทฤษฏีขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement -NSM) ทฤษฏีภาวะผู้นำ (Leadership Theories) แนวคิดเรื่องอำนาจ แนวคิดเรื่องสิทธิตามธรรมชาติและแนวคิดเรื่องการต่อสู้ เรียกร้อง และการเคลื่อนไหวทางสังคม ผู้ให้ข้อมูลหลักของงานวิจัย จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มผู้บริหาร นักวิชาการ กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคม กลุ่มแพทย์แผนปัจจุบัน กลุ่มแพทย์แผนทางเลือก หมอพื้นบ้าน และ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้กัญชาในการรักษาโรค งานวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative research)โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า

        1. มายาคติของสังคมไทยต่อกัญชา ถูกสร้างจากสองทาง คือ ศาสตร์ความรู้ตะวันตกที่ผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ ทำให้ตำรับยา บทบาทของหมอพื้นบ้านหายไปจากสังคมไทย และอีกทาง คือกฎหมายของรัฐที่ได้มีการสร้างวาทกรรม มายาคติ (Myth) จึงหมายถึง การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับมายาคติของคนในสังคมไทยที่มีต่อกัญชาผ่านจิตสำนึกและการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส กัญชาในมิติของการสื่อถึงแนวคิด ที่ผูกติดอยู่กับคุณค่าทางสังคม เป็นความดี ความชั่ว ความน่ากลัว ความโหดเหี้ยม ต้นเหตุของการ ก่ออาชญากรรม จนเกิดเป็น “มายาคติ”

        2. การใช้ประโยชน์จากกัญชา และการให้ความหมายของพืชกัญชาในสังคมไทย องค์ความรู้ แบบตะวันตกที่มีผลต่อการจัดระบบการจัดการศึกษาได้สร้างมายาคติการใช้ประโยชน์จากกัญชาที่ต้องเรียกร้องงานวิจัยทดลองแบบวิทยาศาสตร์ ตำรับยาดั้งเดิมและองค์ความรู้แบบแพทย์พื้นบ้านถูกกลบด้วย ชุดมายาคติแบบแผนการศึกษาตามแบบตะวันตกและเมื่อไม่มีงานวิจัยในรูปแบบของหน่วยวิชาเภสัชศาสตร์กัญชาจึงไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นยาในการรักษาตามประโยชน์โดยแท้จริง

        3. คนไทยมีสิทธิเข้าถึงพืชกัญชานี้ได้ และเมื่อต้องดื้อแพ่งกับกฎหมายก็จึงต่อสู้ เรียกร้อง และ การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ (New Social Movement) ในมิติด้านกัญชา กลไกทางสังคมเรื่องกัญชากับการสร้างมายาคติ กระบวนการสำคัญอยู่ที่การตัดสินใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการกำหนดนโยบาย

        4. การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่เรื่องกัญชา ทำให้เกิดการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในฐานะผู้กระทำทางการเมือง ทำให้ มีการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองที่ไปไกลกว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ

References

Barthes, R. (1972). Mythologies. New York: Hill and Wang

Escobar A. & Sonia E. Avarez, e. (1992). The Making of Social Movement in Latin America. New York: Routledge.

Foweraker, J. (1995). Theorising Social Movements. London : Pluto Press

Glaser. (1967). Grounded Theory Study. The study of phenomenon from perspective and the definition from people in phenomenon. Chicago: Aldine

Hamilton, R. (2009) “Breeding Better Crops” Scientific American. 19(2), p.16-17.

The Office of Protection wisdom medicine of Thailand. (2012). Textbook of medicine in ancient Thailand in the Reign of King Narai. Bangkok: the Publisher Organization Welfare.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01