การวิเคราะห์ตัวละครและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมิติความเป็นจริงกับ ความฝันในภาพยนตร์แฟนตาซี

ผู้แต่ง

  • โชติอนันต์ เกษมวงศ์หงส์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลยั รังสิต

คำสำคัญ:

ตัวละคร, จิตวิเคราะห์, ภาพยนตร์แฟนตาซี

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ตัวละครและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมิติความเป็นจริงกับความฝันในภาพยนตร์แฟนตาซี อันเป็นการไขความลับการเล่าเรื่องของภาพยนตร์แฟนตาซี โดยทำการ ศึกษาภาพยนตร์แฟนตาซีต่างประเทศที่ออกฉายในช่วงพ.ศ. 2544 – 2559 ได้แก่ Pan’s Labyrinth (2006, Guillermo del Toro), Bridge to Terabithia (2007, Gabor Csopo), Alice in Wonderland (2010, Tim Burton), A Monster Calls (2016, Juan Antonio Bayona), The BFG (2016, Steven Spielberg) และ Miss Peregrine’s Home for Peculiar children (2016, Tim Burton) โดยการวิจัยครั้งน้ีเป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ แบบวิเคราะห์ตัวบท โดยใช้แนวคิดเรื่องการวิเคราะห์ตัวละครสามมิติ พัฒนาการของตัวละคร และ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ ผลการวิจัยพบว่า

        ตัวละครหลักในภาพยนตร์แฟนตาซีมักเป็นเด็ก อายุระหว่าง 10 – 20 ปี เป็นชนชั้นกลาง มักอาศัยอยู่ กับแม่เพียงคนเดียว มีจิตนาการ มีไหวพริบ เฉลียวฉลาด และมักประสบปัญหาหรือความสูญเสียบางอย่าง ทำให้เขาหรือเธอเกิดความขัดแย้งภายในจิตใจซึ่งสอดคล้องกับโครงเรื่องแบบการก้าวพ้นวัย

        ส่วนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมิติความเป็นจริงกับความฝันในภาพยนตร์แฟนตาซี พบว่ามีความ สัมพันธ์ 3 รูปแบบ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงบวก ความสัมพันธ์แบบเป็นกลาง และความสัมพันธ์เชิงลบ

        นอกจากนั้นยังพบว่าตัวละครกับมิติความเป็นจริงและความฝันในภาพยนตร์แฟนตาซีนนั้นมีความสัมพันธ์ กันอย่างแยกออกจากกันมิได้ในการเล่าเรื่องตามโครงสร้างเรื่องเส้นทางแบบปมเอดิปัส ซึ่งส่งผลให้ตัวละคร เกิดพัฒนาการใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พัฒนาการในแง่บวก และพัฒนาการในแง่ลบ

References

ปนัดดา สดุดีวิถีชัย. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเด็กแนวแฟนตาซีของโรอัลด์คาห์ล และมิชาเอล เอนเดอ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (วรรณคดีเปรียบเทียบ).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิริยะดิศ มานิตย์. (2559). ‘ปมเอดิปัส’ ในนิทานแปร์โรต์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศักดิ์ บวร. (2554). ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตศาสตร์ (สำหรับผู้เริ่มเรียนรู้). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี:สำนักพิมพ์สมิต

Freud, S. (2004) Introductory Lectures on Psychoanalysis (Penguin Freud Library Volume 1). London : Penguin books

Weiland, K. M. (2016). Creating Character Arcs: The Masterful Author’s Guide to Uniting Story Structure, Plot, and Character Development. Barnsley : Pen and Sword Publishing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01