การศึกษาผลกระทบของการใช้อินโฟกราฟิกเป็นสื่อในการเรียนการสอนของ นักเรียน ระดับช้ันมัธยมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผลกระทบ, อินโฟกราฟิก, การเรียนการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบของการใช้อินโฟกราฟิกเป็นสื่อในการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร” กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นด้านความพึงพอใจและการนำ ไปใช้ประโยชน์ที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาผลกระทบการใช้อินโฟกราฟิกกับการเรียนการสอน ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับการวิจัยครั้งน้ีได้ใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 399 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของตารางและบรรยายเชิงพรรรณา
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยได้รับข้อมูลจากสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งเช่นแผ่นพับโปสเดอร์ มากที่สุด มีความคิดเห็นท่ีมีต่อสื่ออินโฟกราฟิก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลกระทบของการ ใช้สื่ออินโฟกราฟิกเป็นสื่อในการเรียนการสอน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ชูศักดิ์ เพรสคอทท์ และสินี กิตติชนม์วรกุล. (2557). การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและอิทธิพลของสื่อต่อแนวความคิดทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
นฤมล ถิ่นวิรัตน์. (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน : กรณีศึกษาโครงการ “รู้สู้ flood”. หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
นัจภัค มีอุสาห์. (2556). อิทธิพลของชุดข้อมูลและสีสันต่อความเข้าใจเนื้อหาของภาพอินโฟกราฟิก. สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พัชรา วาณิชวศิน. (2558). ศักยภาพของอินโฟกราฟิก (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้.สาขาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาคอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศยามน อินสะอาด. (2560). Infographic Design การออกแบบอินโฟกราฟิก. เข้าถึงได้จาก : https://www. slideshare.net/sayamon2010/infographic-design-76259598 10 มิถุนายน 2560.
อดิสรณ์ อันสงคราม. (2558). ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น.
Beegel, J. (2014). Infographics for dummies. New Jersey: John wiley and Sons.
De Bono, Edward. (1992). Six Thinking Hast for School. London : Haele Brownow Education.