การสร้างสรรค์รายการ “ใต้หลังคา ฟ้ามีดาว” เพื่อการพัฒนาของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ อ่อนน่วม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์รายการ, เด็กปฐมวัย, ใต้หลังคา ฟ้ามีดาว

บทคัดย่อ

        การสร้างสรรคร์ายการ“ใต้หลังคา ฟ้ามีดาว”เพื่อการพัฒนาของเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อผลิตรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเด็กปฐมวัย ในเชิงสร้างสรรค์และมีคุณค่าต่อพัฒนาการของเด็ก สามารถนำสาระความรู้จากรายการไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและเกิดความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัวแนวคิดที่ใช้เป็นแนวคิดเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย จิตวิทยาพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผลกระ ทบของสื่อโทรทัศน์ แนวทางและวิธีการดำเนินงานของโครงการ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) นำผลวิจัยรายการ ต้นแบบสำหรับเด็กเล็ก มาเป็นตัวอย่างรายการและพัฒนาเป็นบทรายการความยาว 10 นาที เป็นรายการ ใต้หลังคา ฟ้ามีดาว จากน้ันนำมาปรับองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ของรายการ ทั้งด้านพัฒนาการของเด็ก และ ความสัมพันธ์ในครอบครัว 2) เตรียมการผลิตและผลิตรายการเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจำนวน 75 ตอน ควบคู่กับช่องทางออนไลน์ของสถานี ฯ

        ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1) บทรายการโทรทัศน์ฉบับสมบุรณ์ ความยาว 10 นาที จำนวน 75 ตอน 2) การออก อากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ 3) ตัวเลขของผู้ชมรายการที่แสดงการเข้าถึงรายการของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย ประโยชน์ที่ได้รับคือ 1) เด็กปฐมวัยอายุ 3 - 5 ปี และครอบครัวมีทางเลือกในการรับชมรายการที่มีเนื้อหาในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา ภาษา สังคม จิตใจและอารมณ์ และด้านจริยธรรม นอกจากนี้ รายการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของผู้ผลิต โดยในโครงการ ฯ นี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตและบริษัทผองผล จำกัด 2) สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มีรายการในหมวดเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่มี ความหลากหลายและมีคุณภาพเพ่ิมขึ้น และเป็นรายการโทรทัศน์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของช่วงวัย

References

ลักษมี คงลาภและคณะ. (2555). พฤติกรรมการเปิดรับและความต้องการของเด็กและเยาวชนที่มีต่อรายการสำหรับเด็กและเยาวชนทางสถานีโทรทัศน์เพื่อบริการ สาธารณะไทยพีบีเอส. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 6(2),113-143.[LucksameeKonglarb.(2012).“Televisionexposureandneeds of children and youth on television programs for service Thai PBS”. Journal of Communication Arts, Dhurakij Pundit, 6(2)]

วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2560). รูปแบบรายการโทรทัศน์และการผลิตรายการโทรทัศน์ต้นแบบ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต. [Worrawut Onnaum. (2017) Format of television programs and production of prototype television programs for children, youth, and families. National Academic Conference Rangsit University.]

วรัชญ ครุจิต. (2555). โครงการศึกษากลุ่มความคิดใหม่และข้อเสนอแนะเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อรูปแบบเนื้อหารายการโทรทัศน์ สื่อสาหรับเด็กและเยาวชนในอนาคตของสถานีโทรทัศน์ เพื่อให้บริการสาธารณะไทยพีบีเอส. สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. [Warun Karujit. (2012) The project of studying new ideas and integrated suggestions For sustainable development Television program content format Media for children and youth in the future of television stations To provide Thai PBS. The Institute of Public Media and The Broadcasting Organization. Public Company of Thailand.]

อัศรินทร์ นนทิหทัย. (2551). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อการพัฒนารายการโทรทัศน์ TK Teen. คณะนิเทศ ศาสร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Assarin Nonthihathai. (2008). Youth participatory communication for the development of TK Teen television programs. Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

อิทธิพล ปรีติประสงค์ (2555). คู่มือการพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. [Itthipol Preetiprasong(2012). TV Program Development Handbook for Educational and Learning Promotion for Children. Bangkok: National Institute for Child and Family Development. ]

Wright and Huston (1986). “A matter of form: Potentials of television for young viewers. American Psychologist”. New Jersey: Pearson Education.

เว็บไซต์

Lillard AS & Peterson J. (2011). “The immediate impact of different types of television on young children’s executive function”. Pediatrics.2011;128(4):644–649. Retrieved : http://pediatrics.aappublications.org/content/128/4/644.full

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01