การใช้สื่อดิจิทัลและความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของ นักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พนม คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สื่อดิจิทัล, นักเรียน

บทคัดย่อ

        การวิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการใช้งานสื่อดิจิทัล อธิบายแบบจำลองความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลและอิทธิพลของแรงจูงใจทางการเมืองคุณลักษณะของสื่อดิจิทัลและการใช้สื่อดิจิทัลที่มีต่อความ เป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จากภูมิภาคต่าง ๆ ท่ัวประเทศ จำนวน 820 คน

        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้สื่อดิจิทัลด้วยความถี่เฉลี่ยในระดับทุก ๆ ชั่วโมงในแต่ละวัน โดยใช้เฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรม การใช้สื่อดิจิทัลด้านการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ใช้หาข้อมูล ติดตามข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องการเมือง ในขณะที่การใช้สื่อดิจิทัลด้านสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยใช้ดูหนังฟังเพลง เล่นเกมติดตามดาราที่ชื่นชอบสนทนากับเพื่อนหาข้อมูลประกอบการเรียนเป็นประจำและใช้สร้างกลุ่มเพื่อติดต่อกับเพื่อน หาข้อมูลสินค้า ติดตามข่าวสาร แสดงความเป็นตัวตนในระดับบ่อย ๆ นอกจากน้ียังให้ความ สำคัญกับคุณลักษณะสื่อดิจิทัลในด้านความเป็นพื้นที่สาธารณะ ความสามารถในการกระจายข่าวสาร การ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาได้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด

        กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจทางการเมือง มาจากความสนใจเรื่องราวการเมืองในประเทศ มีความคาดหวัง ให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย และการมีประสบการณ์ทางการเมืองจากการเรียน

        การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า Model Chi-Square, p-value มีค่า .00 ค่า CMIN/DF = 2.59 ค่า RMSEA = 0.04 ค่า GFI = 0.91 และ ค่า CFI = 0.92 แบบ จำลองความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลสรุปเป็นองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรับผิดชอบ (น้ำหนัก ปัจจัย = 0.94, R2 = 0.88) 2) ด้านการเคารพตนเองและคนอื่นบนสื่อดิจิทัล (น้ำหนักปัจจัย = 0.92, R2 = 0.85) 3) ด้านการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการใช้สื่อดิจิทัล (น้ำหนักปัจจัย = 0.92, R2 = 0.85) 4) ด้านค่านิยม และคุณธรรม (น้ำหนักปัจจัย = 0.90, R2 = 0.81) 5) ด้านการปกป้องตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย (น้ำหนัก ปัจจัย = 0.88, R2 = 0.77) 6) ด้านพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย (น้ำหนักปัจจัย = 0.78, R2 = 0.60)

        ผลการทดสอบตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า คุณลักษณะเฉพาะของสื่อ ดิจิทัล (beta = .307) การใช้สื่อดิจิทัลด้านสังคม (beta = .259) แรงจูงใจทางการเมือง (beta = .234) การใช้ สื่อดิจิทัลด้านการเมือง (beta = -.117) มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความเป็นพลเมืองดิจิทัลร้อยละ 36.10

        ผลการทดสอบเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า นักเรียนกลุ่มท่ีมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.51 – 4.00 มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่ากลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.50 นอกจากนี้นักเรียน กลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคม 3 – 4 ครั้งขึ้นไปต่อปี มีความเป็นพลเมืองสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม 1 – 2 ครั้ง ต่อปี และกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเลย อย่างมีนัยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกทิพย์ อินทรโชติ. (2554). ระดับจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของสมาชิกรายการร่วมด้วยช่วยกัน : ศึกษากรณีกิจกรรม DFM 99.5 ร่วมด้วยช่วยกันคลื่นความดี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. [Kanokthip Intarachot. (2011). Citizen awareness level of Hand in Hand Program member : case study on Hand in Hand Program-- Goodness Wave, in DFM 99.5. Thesis, Thammasat University]

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. [Ministry of Information and Communication Technology (2016). Thailand Digital Economy Plan.]

คณาธิป ทองธวีวงศ์. (2558). “สิทธิในการสื่อสารข้อมูลออนไลน์โดยนิรนามของสื่อพลเมือง.” วารสารนิติสังคมศาสตร์, 8(2), 72-128. [Kanathip Thongraweewong. (2015). “Rights in Online Communication of Anonymous Citizen Journalist.” CMU Journal of Law and Social Sciences, 8(2), 72-128.]

ถวิลวดี บุรีกุล, รัชวดี แสงมหะหมัด, และเออเจนี เมริโอ. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship in Thailand). รายงานการวิจัย. สถาบันพระปกเกล้า. [Thawinburi Bureeku, Ratchawadee Saengmahamad and Erjenee Mario. (2012). Citizenship in Thailand. Research Report. King Prajadhipok’s Institute.]

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา. [Thipphaphon Tantisunthon. (2012). Civic education for Thai society.

Bangkok: Institute of Public Policy Studies]

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). พลเมืองเข้มแข็ง. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : วิภาษา. [Thanes Charoenmuang. (2008). Strong Citizen. 2nd edition. Bangkok: Vipasa]

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. [Thuntuch Viphatphumiprathes. (2013). Democratic Citizenship of Dhurakij Pundit University Students. Research Report. Dhurakij Pundit University]

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์. [Prinya Thaewanarumitkul. (2012) Civic Education. Bangkok: Nan Me Book Publications]

พนม คลี่ฉายา. (2559). การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. โครงการวิจัย ระยะที่ 1-2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). [Phnom Kleechaya. (2016). Access, Risk, Digital Literacy and Conceptual Frame of Digital Media Education for Thai Secondary School Students. Research Report No. 1-2. Thailand Research Fund (TRF)]

รสสุคนธ์ มกรมณ. (2556). “พฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวน สุนันทา.” วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5, 74-84. [Rossukhon Makaramana. (2013). “Citizenship of Youth in Suan Sunandha Rajabhat University.” Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University. 5, 74-84.]

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2542). “ส่วนร่วมที่มิใช่รัฐบาล: ความหมายของประชาคม.” ใน อนุชาติ พวงสำลีและ กฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ). ขบวนการประชาสังคมไทย: ความ เคลื่อนไหวภาคพลเมือง. (น. 35-61). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. [Anek Laothamatas. (1999). “Non-government

Participation: The Meaning of Thai Civic Society.” In Anuchat Puangsumlee And Kittiya Achawanichkul. Editors. Thai Civic Society Group: Public Sector Movement. Pp. 35-61. Bangkok: Social Research and Development Project]

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2554). การเมืองภาคพลเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. [Anek Laothamatas. (2011). Direct Democracy. 3rd edition. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute]

Abramson, J. (2012). Networks and Citizenship : Using Technology for Civic Innovation. The Aspen Institute Forum on Communications and Society.

de Vreese, C. H. (2007). “Digital Renaissance: Young Consumer and Citizen?” Annuals of the American Academy of Political and Social Science, 611,207-216.

de Zúñiga, H. G., Jung, N., & Valenzuela, S. (2012). “Social Media Use for News and Individuals’ Social Capital, Civic Engagement and Political Participation.” Journal of Computer-Mediated Communication, 17, 319-336.

Holland, L. M. (2017). The Perceptions Of Digital Citizenship In Middle School Learning. (Doctoral Dissertation). Carson-Newman University, The Faculty of the Education Department.

Hoskins, B. L., & Mascherini, M. (2009). “Measuring Active Citizenship through the Development of a Composite Indicator.” Social Indicators Research, 90(3), 459-488.

Jones, L. M., & Mitchell, K. J. (2015). “Defining and measuring youth digital citizenship.” New Media & Society, 17(6), 1-17.

Jorba, J., & Bimber, B. (2012). “The Impact of Digital Media on Citizenship from a Global Perspective.” In E. Anduiza, M. J. Jensen, & L. Jorba (Eds.), Digital media and political engagement worldwide : a comparative study. (pp. 16-38). New York : Cambridge University Press.

Lee, N.-J., Shah, D. V., & McLeod, J. M. (2013). “Processes of Political Socialization: A Communication Mediation Approach to Youth Civic Engagement.” Communication Research, 40(5) 669–697.

Mossberger, K., Tolbert, C. J., & Anderson, C. (2014). Digital Citizenship: Broadband, Mobile Use, And Activities Online. Prepared for presentation at the International Political Science Association conference, Montreal.

Nordin, M. S et al. (2016). “Psychometric Properties of a Digital Citizenship Questionnaire.” International Education Studies, 9(3), 71-80.

Quintelier, E., & Vissers, S. (2008). “The Effect of Internet Use on Political Participation An Analysis of Survey Results for 16-Year-Olds in Belgium.” Social Science Computer Review, 26(4), 411-427.

Rojas, H., & Puig-i-Abril, E. (2009). “Mobilizers Mobilized: Information, Expression, Mobilization and Participation in the Digital Age.” Journal of Computer- Mediated Communication, 14, 902–927.

Ribble, M. (2011). Digital Citizenship in Schools. The Nine Elements of Digital Citizenship- Digital Etiquette. Washington, DC: International Society for Technology in Education.

Searson, M., Hancock, M., Soheil, N., & Shepherd, G (2015). “Digital citizenship within global contexts.” Educ Inf Technol, 20, 729–741 DOI 10.1007/s10639-015-9426-0

Skoric, M. M., Pan, J., & Poor, N. D. (2012). Social media and citizen engagement in a city-state: A study of Singapore. Paper presented at the When the City Meets the Citizen Workshop, held in conjunction with the Sixth International AAAI Conference on Weblogs and Social Media (ICWSM), Dublin.

Xu, S et al (2018). “Social media competence and among college students.” Journal of Research into New Media Technologies, 1–18.DOI: 10.1177/1354856517751390

เว็บไซต์

รายงาน “คนไทย” มอนิเตอร์ 2557: เสียงเยาวชนไทย (Youth Today). สืบค้นจาก http://www.khonthaifoundation.org/project-detail.php?id=12# [Thai People Monitoring Report (2017) Youth Today. Retrieved form http://www.khonthaifoundation.org/project-detail.php?id=12#]

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) (2561). ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตและมูลค่าอีคอมเมิรซ์โชว์ความพร้อมไทยก้าวขึ้นเป็นเจ้าอีคอมเมิรซ์ อาเซียน. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017-and- value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2017l-press-conference.html [Electronic Transactions Development Agency. (ETDA). (2018). The Survey of Thai Internet Uses and E-commerce Retrieved form https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017-and-value- of-e-commerce-survey-in-thailand-2017l-press-conference.html]

Ribble, M. (2016). Digital citizenship is more important than ever. Retrieved from https://www.iste.org/explore/articleDetail?articleid=535

Tamayo, P. D. (2016). Digital Citizenship Recommendations. Retrieved from http://app.leg.wa.gov/rcw/default.aspx?cite=28A.650.045

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01