ความต้องการและปัจจัยท่ีมีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรีสองปริญญา ปริญญาตรีต่อโท และปริญญาโท ของนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คำสำคัญ:
ความต้องการ, การตัดสินใจ, การศึกษาต่อบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตร ปริญญาตรีสองปริญญาปริญญาตรีต่อโทและปริญญาโทของนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปี ที่ 2-4 ที่มีรายชื่อกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 883 คน ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดย เป็นนักศึกษาช้ันปีที่ 4 และศึกษาอยู่ในสาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัลมากที่สุด
2. ความต้องการในการศึกษาต่อของนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ พบว่า นักศึกษาไม่ต้องการศึกษา ต่อมากที่สุด รองลงมา คือ ต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาตรีต่อโท ตามลำดับ ในกรณีท่ีนักศึกษาจะศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีนิเทศศาสตร์สาขาที่สองพบว่า สนใจศึกษาในสาขาวิชา ภาพยนตร์ดิจิทัลกรณีที่จะศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสองปริญญา พบว่าสนใจศึกษาในหลักสูตรด้านภาษา กรณีที่จะศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อโทของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ พบว่า สนใจหลักสูตรนิเทศศาสตร์องค์รวม และกรณีท่ีจะศึกษาหลักสูตรปริญญาโทพบว่า สนใจศึกษาหลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจ ส่วนใหญ่ สนใจจะศึกษาต่อระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยรังสิต ภาคพิเศษ คือ เรียนในวันเสาร์-วันอาทิตย์ แหล่ง ข้อมูลที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลสำหรับการศึกษาต่อ คือ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย และกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ คือ บิดามารดา
3.ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรีสองปริญญาปริญญาตรีต่อโทและปริญญาโท ของนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.06 กล่าวคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านความคาดหวังต่อการศึกษาต่อ ที่ค่าเฉลี่ย 4.22 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสถาบันและหลักสูตร ที่ค่าเฉลี่ย 4.20 ปัจจัยด้านการสื่อสาร ที่ค่าเฉลี่ย 4.02 และปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ค่าเฉลี่ย 4.02 ตามลำดับ ดังรายละเอียดต่อ ไปนี้คือ 3.1)ปัจจัยดา้นความคาดหวังต่อการศึกษาต่อในภาพรวมอยู่ในระดับมากพบว่านักศึกษาต้องการ ความรู้และทักษะในวิชาชีพที่หลากหลายสำหรับการทำงานในอนาคต (μ = 4.38) 3.2) ปัจจัยด้านสถาบัน และหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการเรียนในปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้จริงและอาจารย์เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ บุคลิกภาพน่าเชื่อ ถือ ประสบการณ์สูงในสาขาวิชาที่สอน (μ = 4.31) 3.3) ปัจจัยด้านการสื่อสารโดยภาพรวมอยู่ในระดับ พบ ว่า นักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาได้สะดวก (μ = 4.20) และ 3.4) ปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่ามหาวิทยาลัยรังสิตมีสิ่งอำนวยความ สะดวกไว้รองรับมากที่สุด (μ = 3.94) ตามลำดับ
References
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2559). ความต้องการและความคาดหวังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อการเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา. มหาสารคาม : เอกสารอัดสำเนา รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [Division of Educational Services, Mahasarakham University. (2016). Needs and expectations of grade 12 students towards studying in higher education institutions. Mahasarakham : Copy of full paper research, Mahasarakham University.]
กองประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2557). การติดตามผลผู้สำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2557. นครราชสีมา : รายงานการวจิ ยั มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั นครราชสมี า.[QualityAssuranceDivisionNakhonRatchasima Rajabhat University. (2014). The Follow-up of the Graduates of Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Academic Year 2014. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University.]
จเรวัฒน์ เทวรัตน์. (2556). พฤติกรรมและความต้องการของผู้สมัครเรียนในการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ ของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมธิราช. [Jarawat Tavarat . (2013). Behaviors and Needs of Applicants in Accessing to Public Relations Media of Sukhothai Thammathirat Regional Distance Education Center, NakhonSiThammarat. Nonthaburi:ResearchPaperofSukhothaiThammathiratUniversity.]
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา). นครราชสีมา : รายงาน การวิจัยฝ่ายงานบริหารงานทั่วไป สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน. [Nutcha Suwanwong. (2018). Factors Affecting the Decision to Study at the Bachelor Degree Level in Rajamangala University of Technology Isan, Nakhon Ratchasima (Quota system). Nakhon Ratchasima : Research Paper of General Management Academic Promotion and Registration Office, Rajamangala University of Technology Isa.]
บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น. [Boonchom Srisa-Ard. (2016). Introduction to Research. (10th ed.). Bangkok : Suweeriyasan.]
พรรณพนัช จันหาและอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558).“ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.ปีที่8(1).มกราคม-เมษายน.291-318น.[PhannaphatChancha-Atchariya Prab-Ari. (2015). “Factors Affecting the Desire to Study at the Master’s Degree Level at Kasetsart University.” Journal of Humanities, Social Sciences and Arts, Silpakorn University. Vol.8(1). January-April. 291-318 p.]
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [Puangrat Thawirat. (2007). Research Method in Behavior and Social Science. (7th ed.). Bangkok : Educational and Psychological Test Bureau, Srinakharinwirot University.]
ภัทรสุดา จารุธีรพันธุ์. (2558). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการ จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.” วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ปีที่ 10(32). เมษายน-มิถุนายน. 35-46 น. [Phatthasuda Charuthathiraphan. (2015). “Factors Affecting the Selection of Study Programs Undergraduate, Faculty of Management Science, Loei Rajabhat University.” Research and Development Journal, Loei Rajabhat University. Vol. 10(32). April-June. 35-46 p.]
รัตนา จารุวรรโณ และคณะ. (2561). “ความต้องการการศึกษาต่อทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพใน กรุงเทพมหานคร.”วารสารเกอื้การณุย์มหาวิทยาลัยนวมนิทราธิราช.ปีที่25(1).มกราคม-มถิุนายน. 7-24 น. [Ratana Charuwanno and Others. (2018). “The Need for Further Education in Nursing among Registered Nurses in Bangkok Metropolitan.” Kuakarun Journal of Nursing , Navamindradhiraj University. Vol. 25(1). January-June. 7-24 p.]
วรรณวิมล จงจรวยสกุล. (2555). ภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการ ศึกษา 2554-2555. นนทบุรี : รายงานการวิจัย วิทยาลัยลัยราชพฤกษ์. [Wannawimon Chongcharueksakul. (2012). Employment of the Graduates from Ratchaphruek College in Academic Year 2011-2012. Nonthaburi : Research Paper of Ratchphruek College.]
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. (2561). รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2560. ปทุมธานี : เอกสารอัดสำเนา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. [College of Communication Arts, Rangsit University. (2018). Self Assessment Report Academic Year 2017. Pathumtani : Copy of paper, College of Communication Arts, Rangsit University.]
วันทนีย์ โพธิ์กลาง และอุทุมพร ไวฉลาด. (2557). “แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ” มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ.ปีที่ 2(2). กรกฎาคม-ธันวาคม. 111-134 น. [Wansanee Pho Klang and Uthumphon Wai Wise. (2015). “Motivation to Study in Bachelor’s Degree at the Faculty of Environment and Resource Studies,” Mahidol University. Journal of Integrated Social Sciences, Mahidol University. Vol.2(2). July-December. 111-134 p.]
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ อุดมศึกษา พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด. [Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education. (2017). Criteria for Higher Education Curriculum 2015. Bangkok : Wongsawang Publishing and Printing Company Limited.]
เว็บไซต์
ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). การศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. [Chavalit Pho-Nakorn. (2017). Thai Education in the Era of Thailand 4.0. (Online). Retrieved : https://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/. July 15, 2019.]
น้ำฝน ลูกคำ. (2555). ความต้องการและความคาดหวังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการ เลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://ssruir.ssru. ac.th/handle/ssruir/707. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562. [Namfon Lukkham. (2012). Needs and Expectations of High School Students to Study at Suan Sunandha Rajabhat University. (Online). Retrieved : http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/707. August 5, 2019.]
มหาวิทยาลัยรังสิต. จำนวนนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2-3 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2562. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://intranet.rsu.ac.th/. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562. [Rangsit University. The Numbers of sophomores, juniors and senior, studying in academic year 2019. (Online). Retrieved : https://intranet.rsu.ac.th/. August 5, 2019.]
วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. (2550). เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา www.tsu.ac.th/grad/report_/files/06044949200949.doc. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562. [Wanwisa Kaewsomboon. Motivation for Continuing Education at Graduate Level. (Online). Retrieved : www.tsu.ac.th/grad/report_/files/06044949200949.doc. August 14, 2019.]
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/FilesNews/FilesNews3/ News328072552.pdf. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562. [Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education. (2009). Announcement of the Higher Education Commission : Guidelines for Compliance with the National Qualifications Standards for Higher Education. (Online). Retrieved : July 20, 2019.]