กลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำชุมชนต่อการมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการแม่น้ำเลย จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสื่อสาร, สมรรถนะการสื่อสาร, การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการ, ผู้นำชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแม่น้ำเลย จังหวัด เลย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การสื่อสารที่ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วม โดยศึกษาต่อยอดจากข้อมูลที่ได้จาก การสำรวจสภาพท่ัวไปของชุมชน การบริหารจัดการแม่น้ำเลย และการค้นหาสมรรถนะการสื่อสารของผู้นำชุมชน แล้วนำมาวางแผนสร้างกลยุทธ์การสื่อสาร หลังจากนั้นนำมาใช้ในขั้นดำเนินงาน ขั้นทดลองและ ติดตามโครงการและกิจกรรมที่ได้จากการใช้กลยุทธ์การสื่อสารในชุมชนตัวอย่างกลางน้ำและขยายผลไปสู่ผู้นำชุมชนเครือข่ายต้นน้ำและปลายน้ำด้วยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ประชากรเป้าหมาย ทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้นำชุมชนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนท้องที่ ผู้นำชุมชนแบบ ไม่ทางการ ตัวแทนชุมชนท่ีเขาร่วมโครงการและกิจกรรม ตลอดริมแม่น้ำเลย อำเภอภูหลวง อำเภอวังสะพุง อำเภอเมืองและอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 63 คน เครื่องมือท่ีใช้ คือ แบบบันทึก แบบสังเกต แบบ สนทนา แบบสัมภาษณ์ แบบแสดงความคิดเห็นและแบบสอบถาม โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและ ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสื่อสารท่ีผู้นำชุมชนตัวอย่างกลางน้ำเลย อำเภอเมือง มีส่วนร่วมในการ สร้างขึ้นมา ประกอบด้วย กลยุทธ์ผู้ส่งสาร 5 กลยุทธ์ กลยุทธ์สาร 5 กลยุทธ์ กลยุทธ์สื่อ 2 กลยุทธ์และกลยุทธ์ ผู้รับสาร 3 กลยุทธ์ และนำไปใช้บริหารจัดการแม่น้ำเลย โดยผ่าน
1 โครงการ และ 5 กิจกรรมย่อย โดยผลการอบรม ปฏิบัติในขั้นดำเนินงานและขั้นทดลองส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก นั่นก็แสดงว่ากลยุทธ์การสื่อสารมีประสิทธิภาพทำให้การดำเนินโครงการและกิจกรรมบรรลุตามเป้า หมาย ทั้งนี้ ก่อนการสร้างกลยุทธ์การสื่อสารได้มีการศึกษาข้อมูลท่ีได้จากการสำรวจสภาพทั่วไปของชุมชนการบริหารจัดการแม่น้ำเลย ทำให้รู้ปัญหาก่อนวางแผน หาเทคนิควิธีแก้ไขและหลีกเลี่ยงได้ตรงจุด ซึ่งในมุม มองของผู้นำชุมชนชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการแม่น้ำเลยค่อนข้างมีปัญหามาก เรื้อรัง ทับซ้อนยุ่งยาก ต้อง แก้ทุกจุดจนยากจะเยียวยา ปัญหาขึ้นอยู่กับคนในชุมชนที่ทำลายล้างและไร้ซึ่งจิตสำนึก นอกจากนั้น ทุกขั้น ตอน ทุกองค์ประกอบของกลยุทธ์การสื่อสาร รวมทั้งโครงการและกิจกรรมที่นำมาดำเนินงานบริหารจัดการ แม่น้ำเลยมาจากการระดมสมองเพื่อดึงสมรรถนะความรู้ความสามารถออกมาใช้ร่วมกันบนฐานถกคิดข้อมูลที่ได้จากเอกสารสำรวจและสัมภาษณ์ตลอดจนโครงการและกิจกรรมที่เคยทำของผู้นำชุมชนทั้ง4อำเภอมี การพิจารณากันอย่างละเอียดและให้สอดรับกับสภาพแม่น้ำเลยกลางน้ำที่จะจัดทำนำร่องให้มากที่สุด และ เมื่อมีการขยายผลไปสู่ผู้นำชุมชนเครือข่ายต้นน้ำและปลายน้ำ พบว่า ยอมรับในการนำรูปแบบการบริหาร จัดการกลางน้ำเลยไปใช้ในพื้นที่ทั้งหมด
References
กองโครงการและการวางแผนงาน. (2556). การบริหารจัดการงบประมาณ. การรถไฟแห่งประเทศไทยกระทรวงคมนาคม. [Project and Event Planning Division. (2013). Budget Management. State Railway of Thailand Ministry of Transport.]
จันทร์แจ่ม ดวงอุปะและคณะ. (2551) การวิจัยและพัฒนาการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเลย.เลย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย[ChancaemDuangupaandetal.(2008).Researchand Development for the Creation of a Network for Monitoring Water Quality in the Loei River. Loei : Loei Rajabhat University]
ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). “การพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อการเจรจาเชิงผลได้ของ พนักงานบริหารงานลูกค้าในอุตสาหกรรมโฆษณา.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 9(2) (พฤษภาคม – สิงหาคม) : 18.[ Chartchai Kongpetchadit and Thirawat Chantuek. (2016). “Developing Account Executives’ Communication Skills in Advertising Industry” Academic Journal Veridian E-Journal Year 9(2) (May - August) : 18.]
ตามรอยคนเดินคลำ “ชีพจรแม่น้ำเลย”. (2552). เมืองเลยไทม์. มกราคม 10-25 หน้า 10. [Tam Roj Khon Doen Khlam “Chipphachon Maenam Loei”]. (2009). Loei Times. (January 10-25) Page 10.]
ทองคำ แก้วพันยูและคณะ. (2555). ศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพน้ำและความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเลยตอนต้นด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นิกรณีศึกษาบ้านเลยตาด ตำบล เลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ระยะที่ 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพมหานคร. [Thongkaeo Kaewphanyu and et al. (2012). Study the Indicators of Water Quality and Fertility of the Loei River at the Beginning with Local Knowledge. A Case Study of Ban Loei Tat, Loei Wang Sai Subdistrict, Phu Luang District, Loei Province, Phase 1. The Thailand Research Fund. Bangkok.]
นิธิมา หนูกูล. (2553). พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการอนุรักษ์แม่น้ำตาปี เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขา สังคมศาสตรเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.[Nithima Nookkun. (2010). Developing the Model of Community Committee Participation in Tapi River Conservation. Tha Kham Subdistrict Municipality, Phunphin District, Surat Thani Province Master of Arts Program in Social Sciences for Development Suratthani Rajabhat University.]
บุราณี เวียงสิมมา. (2557). “การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์น้ำคลองแสนแสบ : ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร.” วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 32(1) (ตุลาคม 2556 - มกราคม 2557). 7 - 8. [Burani WiangSimma. (2014).” Communication to Create Community Participation in Water Conservation. Saen Saep Canal : Kamalul Islam Mosque Community Bangkok” Rom Phruek Journal Krirk University. 32(1) (October 2013 - January 2014). 7 - 8.]
ประทุม ฤกษ์กลาง. (2551). ยุทธศาสตร์การวางแผนการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [Pramrueng klangKlang. (2008). Public relations planning strategy. Bangkok : Bangkok University.]
ปฤฐฎาง จันทร์บุญเรือง. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการแม่น้ำเลย จังหวัดเลย. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.[Pritadrang Jonboonreang, (2015). Community Leader Communication Competence to Participate in the Management of Loei River, Loei Province, Loei : Loei Rajabhat University.]
ปาริชาต สถาปิตานนท์และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุน งานวิจัย (สกว.). [Parichat Sathapitanon and et al. (2006). Participatory Communication and Community Development : from Concepts to Research Practices in Thai Society. Bangkok : The Thailand Research Fund (TRF).]
มณฑา จำปาเหลือง และคณะ. (2558). “รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาในการ สร้างบทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวิทยาศาสตร์ของจังหวัดเพชรบุรี.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 8(3) (กันยายน – ธันวาคม) : 1906 – 3431. [Montha Champalueang, and et al. (2015). “Patterns of Participation of Educational Stakeholders in Create Lessons on Local Wisdom inScienceofPhetchaburiProvince”Veridian E-Journal,SilpakornUniversity9(3)(September - December) : 1906 – 3431.]
ยุทธนา วงศ์โสภา. (2556). เสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำเลย ปี 2557. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพมหานคร. [Yuthana Wongsopha. (2013). Community Empowerment for River Basin Resource Management in 2014. The Thailand Research Fund. Bangkok.]
ศศินา ภารา. (2550). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : เอ็กปอร์เน็ท. [Sasina Bhara. (2007). Natural Resources and Environment. Bangkok: Expornet.]
สำนักงานโครงการพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าภูหลวง. (2557). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของแม่น้ำเลยในอนาคต.เลย:สำนักงานโครงการพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าภูหลวง. [Office of Community Development Project for Phu Luang Forest Conservation. (2014). Research Report on the Study of Trends in Changing the Quality of Rivers in the Future.Loei : Office of Community Development Project for Phu Luang Forest Conservation.]
สุวิทย์ วรรณศรี. (2553). การมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาลุ่มแม่ป่าสักตอนบน อำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. [Suwit Wansri. (2010). Participation of Subdistrict Administration Organization Members in the Conservation of the Environment : A Case Study of the Upper Mae Pa Sak Basin, Lom Sak District, Phetchabun Province. Bangkok : National Research Council of Thailand.]
อมรรัตน์ ทิพย์เลิศและคณะ. (2547). สมรรถนะด้านการสื่อสารของสื่อบุคคลกับการระดมพลังการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุน งานวิจัย (สกว.). [Amonrat Thiplert and et al. (2004). Personnel Communication Competencies and Mobilization of Power Development. Bangkok : Research Support Fund Office (TRF.).]
De Cenzo, D. & Robbins, S.. (2005). Human Resource Management. 4th ed. New York : John Wiley & Sons.
Dubois, D. & Rothwell, W. (2004). Competency-based or a Traditional Approach to Training. ProQuest Education Journals 58 (4) : 46-57.
Robert N.Bostrom. (1984). Competence in Communication, SAGE Publications Ltd.
เว็บไซต์
โครงการ “ภูมิรักษ์ พิทักษ์น้ำ”. (2555). ค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2556, จาก http://www.loeitime.com. [Project “Phum Rak - Phithak Nam”]. (2012). Retrieved 15 August 2013, from : http://www.loeitime.com.]
จิตจำนง กิติกีรติ. (2554). การพัฒนาชุมชน : การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน. ค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556, จาก http://www.gotoknow.org/user/bumbiim/profile. [Jitjumnong Kitirati. (2011). Community Development : Public Participation in Community Development Work Retrieved 20 August 2013, from : http://www.gotoknow.org/user/bumbiim/profile.]
บทความออนไลน์. (2553). หัวใจของกลยุทธ์การสื่อสาร. ค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2556, จาก http://guru.google.co.th. [Online Articles. (2010). The Heart of Communication Strategy Retrieved 11 August 2013, from : http://guru.google.co.th.]
พิชยุทธ์ วังสุกิจ. (2559). ไม่มีระบบ ERP ในองค์กรจะเกิดอะไรขึ้น ?. ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560, จาก https://tereb.in.th. [Pitchayut Wangsukit. (2016). No ERP System in the Organization. What will Happen?. Retrieved 10 July 2013, from : https://tereb.in.th.]
มานิตย์ มกรพงษ์. (2551). แล้งหนักปลาตายเกลื่อนแม่น้ำเลย. ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎคม 2556, จาก http://www.manager.co.th. [Manit Makonpong. (2008). Heavy Drought, Dead Fish Littering the Loei River Retrieved 10 July 2013, from : http://www.manager.co.th.]
เลยไทม์ออนไลน์. (2558). เทศบาลเมืองวังสะพุงเปิดเวทีสภาเมือง ขอความเห็นประชาชนเดินหน้า 5 โครงการใหญ่ ค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558, จาก http://loeitime.blogspot.com. [Loei Times Online. (2015). Wang Saphung Municipality Opens the Forum for the City Council. Requesting for Public Opinion on the 5 Major Projects. Retrieved 17 December 2015, from http://loeitime. blogspot.com.]